วัดม่วง ต.หัวตะพาน อ.วิเศษชัยชาญ อ่างทอง
Wat Muang, Hua Taphan Subdistrict, Wiset Chai Chan District, Ang Thong.
“สักการะบูชา พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ (หลวงพ่อใหญ่ วัดม่วง) พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก, หลวงพ่อเงินพระประธานในพระวิหารและพระพุทธชินราชจำลอง พระประธานในพระอุโบสถ”

ข้อมูลวัดม่วง

  • ที่ตั้ง : ตำบล หัวตะพาน อำเภอ วิเศษชัยชาญ อ่างทอง 14110
  • โทร.  : 035 631 556
  • เว็บไซต์ : watmuang.com
  • เจ้าอาวาส : พระอธิการสุธน สุธมโม ดำรงตำแหน่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ – ปัจจุบัน

 

หลวงพ่อเงิน พระประธานในพระวิหารแก้วฯ

ประวัติวัด เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ. ๒๒๓๐ ณ. แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยได้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก

เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านพระคูวิบูลอาจารคุณ ( หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ) ได้มาปักกลดธุงดงค์เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดร้าง จึงน่าปฏิบัติธรรม แต่ขณะปฏิบัติธรรม ได้ปรากฏนิมิต เห็นองค์หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง มาบอกว่าให้ท่านได้ช่วยก่อสร้างวัดม่วงขึ้นมาใหม่ เพราะท่านพระครู เป็นผู้มีบารมี ที่สามารถจะก่อสร้างบูรณะวัดม่วง ขึ้นมาใหม่ได้ด้วย ผู้ที่เคยอาศัยในสมัยก่อนได้มาเกิด และจะมาช่วยท่านแล้ว และในบริเวณวัดร้างนี้จะมีศิลาขาว และศิลาแดงอยู่ คือ องค์ของหลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง นั้นเอง ซึ่งต่อมาท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการปั้นองค์พระครอบศิลาขาว และศิลาแดงไว้ โดยเรียกนามว่า หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง จนถึงปัจจุบันนี้

ในปีพ.ศ. ๒๕๒๖ ท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการเริ่มบูรณะและได้สร้างเสนาสนะต่าง ๆ ขึ้น โดยได้รับการบริจาค ทั้งเงินทำบุญ และทำบุญด้วยแรงงาน ร่วมกันดำเนินงานในการก่อสร้าง

จนกระทั้งวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มีการประกาศยกฐานะให้วัดม่วง ซึ่งเคยเป็นวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์

เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้มีการแต่งตั้งท่านพระครูวิบูลอาจารคุณเป็นเจ้าอาวาสวัดม่วง ต.หัวตะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ. อ่างทอง

เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งราชจักรี ได้ทรงพระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัดม่วง เป็นต้นมา

ในปีพ.ศ. ๒๕๓๔ ท่านพระวิบูลอาจารคุณ ได้ร่วมพลังจิตอธิฐาน ร่วมกับประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ ได้สมทบทุนสร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อน้อมถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ ๙ และราชวงศ์จักรี มีพระนามว่า พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ มีหน้าตักกว้าง ๖๒ ม. สูง ๙๓ ม. มูลค่าในการก่อสร้าง ๑๐๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท ( หนึ่งร้อยหกล้านบาท )

เมื่อวันเสาร์ที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ( วันแรม ๑ ค่ำา เดือน ๔ ) ปีมะเมีย เวลา ๙.๐๐ น. ได้วางศิลาฤกษ์ โดยสมเด็จพระโฆษาจารย์ วัดสุวรรณดาราม กทม. เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพระครูวิบูลอาจารคุณ (หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ) เป็นประธานฝ่ายดำเนินการก่อสร้าง และหาทุน และให้กฤษ์การก่อสร้างได้ดำเนินมา จนสำเร็จใน ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ( วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ ) รวมเป็นเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น ๑๖ ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๕๐

พระพุทธชินราช พระประธานในพระอุโบสถ

ปัจจุบันวัดม่วงแห่งนี้ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๗๒ ไร่ ซึ่งที่ดินดังกล่าว ท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้ซื้อรวบรวมได้ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ โดยวัตถุประสงค์ เพื่อทำโครงการ ดังต่อไปนี้

พระอุโบสถ กำแพงแก้วเป็นกลีบดอกบัว
  1. สถานที่ศึกษาพระธรรม พระพุทธศาสนา และปฏิบัติธรรม สำหรับ พระภิกษุสงฆ์ และประชาชน
  2. สร้างโรงพยาบาลสงฆ์
  3. ศูนย์จำหน่ายสินค้าศิลปาชีพในโครงการหลวง
  4. แหล่งท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา แก่ชาวไทย และชาวต่างประเทศ
รูปปั้นพระเกจิอาจารย์ทั่วไทย บนฐานบัวแก้วรอบพระอุโบสถ

วัดม่วง ตั้งอยู่ที่บ้านหัวตะพาน หมู่ที่ ๖ ตำบลหัวตะพาน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๗ ไร่ ๓๐ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือ ๗๘ เมตร ติดต่อกับที่ดินนายสมพงษ์ เหลืองสีทอง ทิศใต้ยาว ๘๘ เมตร ติดต่อกับที่ดินของนาย ซัน ตะโนรี และนายสมัคร ยิ้มผาสุก ทิศตะวันออกยาว ๑๓๖ เมตร ติดต่อกับที่ดิน นายสมพงษ์ เหลืองสีทอง ทิศตะวันตกยาว ๑๑๐ เมตร ติดต่อกับที่ดินของนางจรูญ ขจรศรี

ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ

พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ มีถนนเข้าถึงวัด อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มี ศาลาการเปรียญกว้าง สร้างด้วยไม้ หอสวดมนต์กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๗ เมตร สร้างด้วยคอนกรีต กุฎิสงฆ์ จำนวน ๗ หลัง เป็นอาคารคอนกรีตและไม้

วัดม่วง สร้างขึ้นเป็นวัด นับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๒๓๐ ต่อมาได้กลายสภาพเป็นวัดร้าง ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศยกขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗


ชมภาพบรรยากาศวัดม่วง

ร้านค้าชุมชน

แผนที่การเดินทางไปวัดม่วง

Comments

comments