วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร
Wat Pathum Wanaram Ratchaworawihan, Pathum Wan District, Bangkok
“ไหว้ขอพรพระแสน พระเสริม พระสายน์ สถานปฏิบัติธรรมที่เงียบสงบกลางกรุง”

12วัดปทุมวนาราม

ที่ต้้งวัด
969 ถนนพระราม1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
เบอร์โทร   0-2251-6469
เวลาทำการ 07.00-18.00 น.
FB วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร

16ชื่อวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร 21ประตู

ประวัติวัด
วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชประสงค์ให้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2400 บริเวณด้านทิศตะวันตกของสระนอกเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระมเหสี และพระราชทานนามวัดว่า “วัดปทุมวนาราม” แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดสระปทุม

8ปทุมวนาราม

ภายในวัดปทุมวนาราม ยังเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์ ที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิ พระราชสรีรางคารและพระอัฐิของพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ในราชสกุลมหิดลหลายพระองค์ และยังมีพระพุทธรูปที่สำคัญ 3 องค์ประดิษฐานอยู่ในวัดนี้ นั่นก็คือ “พระแสน” “พระเสริม” ประดิษฐานในพระวิหาร และ “พระสายน์” ประดิษฐานในพระอุโบสถ

5วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
“พระวิหาร”
พระอุโบสถ ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหารและพระเจดีย์

ประวัติพระ

20พระเสริมองค์โตพระแสนองค์เล็ก1
“พระแสนกับพระเสริม ประดิษฐานอยู่ด้วยกันในพระวิหาร”

พระเสริม และพระแสน ประดิษฐานอยู่ด้วยกันในพระวิหาร “พระเสริม” เป็นพระพุทธรูปพี่น้องกับ “พระสุก” และ “พระใส” ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 กองทัพสยามเดินทางไปตีเมืองเวียงจันทน์เพื่อปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมื่อกองทัพจะเดินทางกลับบ้านเมือง ก็ได้อัญเชิญพระพุทธรูปมาจากเมืองเวียงจันทน์มาด้วยหลายองค์ด้วยกัน รวมทั้ง พระสุก พระใส และพระเสริมด้วย แต่ในขณะที่เคลื่อนย้ายพระพุทธรูปมาทางลำน้ำงึมออกแม่น้ำโขง ก็ได้เกิดพายุฝนตกหนัก จนทำให้พระสุกหล่นจากแท่นประดิษฐานจมลงใต้แม่น้ำ บริเวณนั้นต่อมาจึงเรียกกันว่าเวินพระสุก หรือเวินสุก ส่วนพระเสริมและพระใสก็ได้อัญเชิญข้ามมายังฝั่งไทยได้อย่างปลอดภัย แต่เมื่อจะอัญเชิญต่อมายังกรุงเทพฯ ก็ปรากฏว่าเกวียนที่ประดิษฐานพระใสนั้นเกิดหักลงอยู่ตรงหน้าวัดโพธิ์ชัย เมืองหนองคาย ทำอย่างไรก็ไปต่อไม่ได้ จึงต้องอัญเชิญพระใสให้ประดิษฐานไว้ที่วัดโพธิ์ชัย เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองหนองคายมาแต่บัดนั้น ส่วนพระเสริมนั้นอัญเชิญต่อมาได้จนถึงกรุงเทพฯ และมาประดิษฐานไว้ที่วัดปทุมวนารามอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ส่วน “พระแสน” พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารเดียวกันกับพระเสริมนั้น เดิมประดิษฐานอยู่ในถ้ำที่เมืองมหาไชย แขวงล้านช้าง แต่ได้อัญเชิญมายังกรุงเทพฯ เมื่อรัชกาลที่ 4 มีพระราชประสงค์จะอัญเชิญพระพุทธรูปโบราณจากล้านช้างมาประดิษฐานไว้ในพระอารามที่ทรงสร้างขึ้นใหม่หลายแห่ง

30พระสายน์
“พระสายน์ ประดิษฐานในพระพระอุโบสถ”

พระสายน์” หรือพระไส ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถของวัดปทุมวนาราม ก็เป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากเมืองมหาไชย แขวงล้านช้าง ในสมัยรัชกาลที่ 4 เช่นกัน โดยพระแสนและพระสายน์นั้นต่างก็มีความศักดิ์สิทธิเหมือนกัน ตรงที่เมื่อใดเกิดฝนแล้ง ก็จะอัญเชิญท่านออกมาบูชากลางแจ้งและบูชาขอฝนจากท่านได้

3วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
ศาลาบูรพาจารย์

3พระเกจิอาจารย์

นอกจากพระพุทธรูปทั้งสามองค์นี้แล้ว ยังมีศาลาบูรพาจารย์ ที่ประดิษฐาน พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่เสาร์ กันตสีโล และอดีตเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาม ราชวรวิหาร

11ปทุมวนาราม
พระเจดีย์

ระหว่างพระวิหารและพระอุโบสถก็ยังมี พระเจดีย์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองทำด้วยหินอ่อน และพระพุทธไสยาสน์หินอ่อนซึ่งได้มาจากลังกาอีกด้วย

พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๔

ส่วนด้านหลังพระเจดีย์ตรงข้ามกับพระวิหารนั้นก็มี พระมณฑปของรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ทรงสร้างวัดนี้ขึ้นมา


ชมภาพบรรยากาศทั่วไปในบริเวณวัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร


การเดินทาง (แผนที่) วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร

โดย BTS อยู่ระหว่างศูนย์การค้าสยามพารากอน และห้างเซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า ลงสถานีสยาม แล้วเดินมาทางแยกเฉลิมเผ่า วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ

โดย รถประจำทางสาย 2 15, 16, 25, 40, 45, 48, 54, 73, 79, 204, 79 ฯลฯ ผ่าน

Comments

comments