วัดพระธาตุแช่แห้ง ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
พระอารามหลวง ชั้นตรี
Wat Phra That Chae Hang, Pha Sing Subdistrict, Mueang District, Nan Province

“โบราณสถาน วัดคู่บ้านคู่เมืองชาวน่าน สักการะบูชาพระธาตุประจำปีเถาะเสริมสิริมงคลแห่งชีวิต ไหว้พระขอพรพระพุทธไสยาสน์, พระเจ้ามหาอุตม์ “


วัดพระธาตุแช่แห้ง000

ที่ตั้งวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง
89 มหาพรหม ตำบล ผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน น่าน 55000
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 054-751-846
วันเวลาทำการ 8.00 – 18.00 ทุกวัน

วัดพระธาตุแช่แห้ง19

วัดพระธาตุแช่แห้ง23

วัดพระธาตุแช่แห้ง28
ประวัติวัดพระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุแช่แห้ง เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ สันนิษฐานว่ามีอายุราว 600 ปี สร้างในสมัยเจ้าพระยาการเมือง (เจ้าผู้ครองนครน่านระหว่าง พ.ศ.1869-1902) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ พระพิมพ์เงิน และพระพิมพ์ทอง ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาการเมืองเสด็จไปช่วยสร้างวัดหลวงอภัย (วัดป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) ในปีพ.ศ. 1897

วัดพระธาตุแช่แห้ง26

วัดพระธาตุแช่แห้ง27

แต่เดิมตัว พระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่บนเชิงเนินปูด้วยอิฐ ลาดขึ้นไปยังยอดเนิน กว้างประมาณ 20 วา มีบันไดนาคขนาบทั้งสองข้าง ปูนปั้นลายนาคเกี้ยว อยู่ตรงหน้าบันเหนือประตูทางเข้าพระวิหาร อันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมเมืองน่าน

วัดพระธาตุแช่แห้ง45
องค์พระเจดีย์เป็นแบบล้านนาไทย เป็นเจดีย์ทรงระฆัง รูปแบบของ พระธาตุแช่แห้ง สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย โดยรอบองค์บุด้วยทองจังโก (ทองดอกบวบ ทองเหลืองผสมทองแดง) ทางขึ้นสู่องค์พระธาตุเป็นตัวพญานาค หน้าบันเหนือประตูทางเข้าพระวิหารเป็นปูนปั้นลายนาคเกี้ยว ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมเมืองน่าน

วัดพระธาตุแช่แห้ง10

วัดพระธาตุแช่แห้ง11

วิหารพุทธไสยาสน์ อยู่ทางด้านหน้านอกกำแพงแก้วขององค์พระธาตุแช่แห้ง ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่มีพุทธลักษณะงดงาม

ประวัติเจ้าหลวงท้าวซาก่าน (ส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระธาตุแช่แห้ง)  ใน พ.ศ. 2019 พระเจ้าติโลกราชผู้ครองนครเชียงใหม่ได้แต่งตั้งให้ท้าวซาก่านมาปกครองเมืองน่าน ต่อมาท้าวซ่าก่านพร้อมด้วยสังฆเจ้า และชาวเมืองน่่านได้ก่อสร้าง “พระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งขึ้นใหม่” เพราะขณะนั้นเต็มไปด้วยป่าไผ่และเถาวัลย์ ที่ในขบวนพระธาตุเจ้าอยู่นั้นก็เป็นแนวจอมปลวก จึงได้แผ้วถางแล้วตกแต่งเครื่องสังเวยสักการะบูชาด้วยช่อตุงเทียน พอตกกลางคืนองค์พระธาตุก็เปล่งปาฏิหาริย์เป็นแสงรุ่งเรือง ท้าวขาก่านจึงให้คนขุดในจอมปลวกอีก 1 วาก็ได้ก้อนผาใหญ่กลมเกลี้ยงลูกหนึ่ง เมือทำให้แตกถึงใจกลางก็พบผอบทองเทศใหญ่มีฝาปิดสนิท ท้าวขาก่านจึงให้ชีปะขาวเชียงโคมวัดใต้แกะดูก็เห็นพระธาตุ 7 องค์ กับพระพิมพ์เงิน 20 องค์ ซึ่งพระยาการเมืองได้มาจากพระยาสุโขทัยเมืองใต้ ส่วนพระบรมสาริกธาตุ และเส้นพระเกศาของพระพุทธเจ้า ที่พระยาอโศกบรรจุไว้อีก 10 วานั้นไม่ได้ขุดถึง เพียงแต่ทราบจากตำนาน ท้าวขาก่านได้นำพระธาตุทั้ง 7 องค์กับพระพิมพ์เงิน พระพิมพ์ทองไว้ที่หอพระไตรปิฏกริมช่วงหลวงน่าน (ใกล้คุ้มเจ้าเมือง) นาน 1 เดือน แล้วจึงนำไปบรรจุไว้ที่ภูเพียงแช่แห้งที่เก่า แล้วก่อพระเจดีย์กับองค์พระธาตุ สูง 6 วา

เจ้าหลวงท้าวซาก่าน

เจ้าหลวงท้าวซาก่าน1
วัดพระธาตุแช่แห้ง35

ประวัติพระเจ้ามหาอุตม์ ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถมหาอุตม์ ประดับด้วยลายหม้อตอก ปูรณะฆฏะสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ในปีจุลศักราช 922 มีอายุกว่า 450 ปี ลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะน่าน ใช้ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกและเจริญพระพุทธมนต์พิธีมงคลที่สำคัญเท่าน มีความศักดิ์สิทธิ์ ดลบันดาลความอุดมสมบูรณ์ ทรัพย์สิน โชคลาภ เพิ่มพูนอำนาจวาสนาบารมี และยังช่วยปกปักรักษาคุ้มครองให้พ้นจากภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวงได้ ด้วยเหตุที่เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญนั้น จึงไม่อนุญาตให้สุภาพสตรีเข้าไปในพระอุโบสถมหาอุตม์ ซึ่งเป็นความเชื่อสืบต่อกันมาแต่ช้านาน

วัดพระธาตุแช่แห้ง34

การเดินทาง (แผนที่) ไปวัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน
จากตัวเมืองข้ามสะพานแม่น้ำน่าน ไปตามทางหลวงหมายเลข 1168  สายน่าน-แม่จริม ประมาณ 3 กิโลเมตร


ชมภาพบรรยากาศทั่วไปในบริเวณวัดพระธาตุแช่แห้ง –

Wat Phra That Chae Haeng Photo Gallery

[envira-gallery id=”2186″]

Comments

comments