วัดพระธาตุเบ็งสกัด ต.วรนคร อ.ปัว จ.น่าน
Wat Phra That Beng Sakat, Wora Nakhon Subdistrict, Pua District, Nan Province

“ตำนานความศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองปัว สักการะบูชาพระธาตุเบ็งสกัด”

วัดพระธาตุเบ็งสกัด0

ที่ตั้งวัดพระธาตุเบ็งสกัด
บ้านแก้ม หมู่ที่ 5 ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 054-521-127
วันเวลาทำการ 6.00 – 18.00 ทุกวัน

ประวัติวัดพระธาตุเบ็งสกัด
พญาภูคาเจ้าผู้ครองเมืองย่าง ได้สร้างเมืองใหม่ให้บุตรบุญธรรม คือ ขุนฟอง ตั้งอยุ่ทางทิศตะวันตกของเมือง ขนานนามว่า “เมืองวรนคร” หมายถึง เมืองดี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอำเภอปัว) พระองค์มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงคิดสร้างพระเจดีย์ไว้คู่กับเมืองใหม่ ให้ชาวเมืองไปหาชัยภูมิที่จะสร้างพระเจดีย์

ในที่สุดก็ได้พบพื้นที่เหมาะสม ห่างจากตัวเมืองประมาณ 200 เมตร เป็นลานกว้าง พื้นดินเกลี้ยงเกลามีบ่ออยู่ตรงกลางปากบ่อไม่มีหญ้าขึ้นได้นำไม้แหย่ลงไปในบ่อนั้นเกิดสิ่งมหัศจรรย์ไม้ขาดเป็นท่อน ๆ ทั้งยังมีเสียงดัง ชาวเมืองนำความไปทูญพญาภูคาให้ทรงทราบ พระองค์ได้เสด็จไปดูและนำไม้รวกยาวประมาณ 15 เมตร แหย่ลงไปเกิดปาฏิหาริย์ไม้ขาดเป็นท่อน ๆ จริง และหมดไปหลายลำ

พญาภูคาจึงได้ให้ชาวเมืองแผ้วถางรอบ ๆ แล้วก่อสร้างพระเจดีย์ครอบบ่อนั้นไว้มีความกว้าง 7 เมตร ทั้งสี่ด้านสูง 20 เมตร พร้อมสร้างวิหารหลังหนึ่งอยู่ในแนวเดียวกัน

วัดพระธาตุเบ็งสกัด7

ได้ประกอบพิธีเฉลิมฉลองพร้อมกับเมืองวรนคร เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน เขิญนายญานะ บวชเป็นพระภิกษุพร้อมสามเณรอีก 11 รูป อยู่จำพรรษา ในงานฉลองตอนกลางคืนได้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้น มีแสงสว่างเรืองรอง และมีรัศมีเหมือนพระจันทร์ทรงกลด พุ่งออกมาจากยอดพระธาตุและวนเวียนไปมารอบ ๆ พระธาตุ ทำให้สว่างไสวไปทั่วบริเวณงาน พญาภูคาจึงได้ตั้งชื่อว่า “พระธาตุเบ็งสกัด

สรงน้ำพระธาตุเบ็งสกัด

เจดีย์พระธาตุเป็งสะกัด ความหมายของพระธาตุตามตำนาน หมายถึง สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น จากบ่อดิน ที่ใช้ไม้แหย่ลงไป แล้วไม้ขาดเป็นท่อน ๆ เหมือนมีอะไรมากัดให้ขาด และมีลำแสงเกิดขึ้น

ลักษณะของเจดีย์นี้เป็นสถาปัตยกรรมล้านนา สร้างโดยพญาภูคาในปี พ.ศ. 1826 สร้างก่อนพระวิหาร และได้รับการบูรณะ จากกษัตริย์ราชวงศ์น่านหลายสมัยสืบเนืองต่อกันมา

เจดีย์เป็นรูปทรง ฐานระฆังคว่ำ เป็นมุมแปดเหลี่ยมลดหลั่นกัน เป็นชั้น ๆ ไม่มีลวดลายเป็นศิลปะแบบพะเยา หรือที่เรียกว่าเจดีย์ ทรงพะเยา ซึ่งมีมากที่พะเยา เชียงราย และบริเวณแถบ เจดีย์ที่เชื่อกันว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และวิหารทรงพ้นเมืองที่มีส่วนประดับตกแต่งซุ้มประตูเป็นแบบศิลปลาวล้านช้าง จึงได้ประกาศขึ้นเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติในราช กิจจานุเบกษา เล่มที่ 61 ตอนที่ 65 ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487

ปัจจุบันมีการจัดงานนมัสการสรงน้ำพระธาตุเบ็งสกัดทุกปีในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 เหนือ (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3)

วัดพระธาตุเบ็งสกัด3

วิหาร เป็นสถาปัตยกรรมไทยลื้อ ทรงสูง แต่หลังคาจะกดต่ำแบบช่างล้านนาเดิม มีลาดบัว ที่ฐานตอนล่างของพระวิหาร ด้านข้างของวิหาร เจาะหน้าต่าง เป็นบานเล็ก ๆ แคบ ๆ หน้าวิหารมีลักษณะเป็น มุขโถงโล่ง ๆ ขึ้นบันไดด้านหน้า จะถึงโถงมุขหน้าเข้าสู่ภายในวิหาร ซึ่งภายใน ประกอบด้วยเสา รายเรียงสองแถว ตรงสู่แท่นฐานชุกชี ประตูด้านหน้าวิหาร เป็นประตูใหญ่กว้างและสูง ประกอบด้วยลวดลายปูนปั้น ผสมผสาน ระหว่างศิลปะเก่ากับใหม่

พระประธานในพระวิหาร

¤

ชมภาพบรรยากาศทั่วไปในบริเวณวัดพระธาตุเบ็งสกัด

หอพระ

หอระฆัง

วิวทิวทัศน์ด้านหน้าวัด
ซุ้มประตูทางเข้าวัด

¤

การเดินทาง (แผนที่)

⇒ โดยรถยนต์ ออกจากอำเภอเมืองน่าน ไปตามถนนหมายเลข 101 มุ่งหน้าไปทางอำเภอปัว ระยะประมาณ 62.5 กิโลเมตร ถึงจุดหมายปลายทางวัดพระธาตุเบ็งสกัด

Comments

comments