.
วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร (พระอารามหลวง) ต.ขุนโขลน อ.พระพุทธบาท สระบุรี
Wat PhraPhutthabat Ratchaworamahawihan, Phraphutthabat, Saraburi

“สักการะบูชารอยพระพุทธบาท พระบรมสารีริกธาตุ หลวงพ่อโต พระไสยาสน์ พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ”
.

ที่ตั้งวัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร

ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท สระบุรี
ประเภทวัด : พระอารามหลวง ชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร 1 ใน 6 วัดชนิดพิเศษ
สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2167

วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท ห่างจากตัวจังหวัดสระบุรีประมาณ ๒๘ กม. มีทางเลี้ยวซ้ายก่อนถึงอำเภอพระพุทธบาทเข้าไป ๑ กม.

“หากเอ่ยถึง รอยพระพุทธบาท แน่นอนว่าสถานที่แรก ๆ ที่คนส่วนใหญ่นึกถึงก็คือ รอยพระพุทธบาท ที่ ‘วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร’ ในจังหวัดสระบุรี พระอารามหลวงชั้นเอก สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2167 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีปูชนียสถานสำคัญอันเลื่องชื่อคือ ‘รอยพระพุทธบาท’ ขนาดความกว้าง 21 นิ้ว ยาว 60 นิ้ว ลึก 11 นิ้ว ที่ประทับบนแผ่นหินเหนือไหล่เขาสุวรรณบรรพต หรือเขาสัจจพันธคีรี ด้วยเป็นรอยพระบาทตามลักษณะ 108 ประการ พระเจ้าทรงธรรม จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปชั่วคราวครอบไว้ และมีการต่อเติมกันอีกหลายสมัยพระมณฑปเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประกอบเครื่องยอดรูปปราสาท 7 ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสีเขียว ผนังด้านนอกปิดทองประดับกระจก บานประตูเป็นงานประดับมุกชั้นเยี่ยมของเมืองไทย พื้นภายในปูด้วยเสื่อเงินสาน ทางขึ้นสู่พระมณฑปเป็นบันไดนาคสามสาย หมายถึง บันไดเงิน บันไดทอง และบันไดแก้ว ที่ทอดลงจากสวรรค์ หัวนาค 5 เศียรที่เชิงบันไดหล่อด้วยทองสำริด สำหรับผู้ที่มานมัสการสามารถแผ่ส่วนกุศลแก่เพื่อนมนุษย์ได้ ด้วยการตีระฆังที่แขวนเรียงรายอยู่รอบมณฑป เชิงบันไดนาคมีศาลาเปลื้องพระภูษา สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์ก่อนขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาท ในศาลาประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก ส่วนพระอุโบสถและพระวิหารที่อยู่รายรอบล้วนเป็นศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังมี วิหารจีน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธบาท (วิหารหลวง) สำหรับเก็บรวบรวมศิลปวัตถุอันมีค่ามากมาย การได้มา วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้กราบนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อความเป็นสิริมงคลแล้ว ยังได้ชมโบราณสถานและโบราณวัตถุอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์อีกด้วย นับว่าคุ้มค่าเป็นอย่างมาก เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.(วิหารหลวงจะเปิดให้ชมเฉพาะช่วงที่มี งานเทศกาลนมัสการพระพุทธบาท ปกติจัดปีละ 2 ครั้ง คือขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 จนถึงแรม 1 ค่ำ และขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 จนถึงแรม 1 ค่ำ)อัตราค่าบริการ คนไทยไม่เสียค่าเข้าชม ชาวต่างประเทศคนละ 30 บาท”

“รอยพระพุทธบาท”

ปูชนียสถานที่สำคัญคือ “รอยพระพุทธบาท” ที่ประทับไว้ในแผ่นหินเหนือไหล่เขาสุวรรณบรรพต หรือเขาสัจจพันธคีรี ลักษณะของรอยพระพุทธบาทคล้ายเท้าคน กว้าง ๒๑ นิ้ว ยาว ๕ ฟุต ลึก ๑๑ นิ้ว

ค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นรอยพระบาทตามลักษณะ ๑๐๘ ประการ จึงโปรดให้สร้างมณฑปชั่วคราวครอบรอยพระบาทไว้ ต่อมาได้มีการก่อสร้างต่อเติมอีกหลายสมัย

dav

{ พระมณฑป }

ลักษณะของพระมณฑป เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประกอบเครื่องยอดรูปปราสาท ๗ ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสีเขียว มีซุ้มบันแถลงประดับทุกชั้น มีเสาย่อมุมไม้สิบสองปิดประดับกระจกโดยรอบ ฝาผนังด้านนอกปิดทองประดับกระจกเป็นรูปเทพพนมและมีพุ่มข้าวบิณฑ์ บานประตูพระมณฑปเป็นงานศิลปกรรมประดับชั้นเยี่ยมของเมืองไทย ทางขึ้นพระมณฑปเป็นบันไดนาคสามสาย หมายถึง บันไดเงิน บันไดทอง และบันไดแก้ว ที่ทอดลงมาจากสวรรค์

{ หัวนาค }

หัวนาคที่เชิงบันไดหล่อด้วยทองสำริดเป็นนาค ๕ เศียร บริเวณรอบพระมณฑปมีระฆังแขวนเรียงราย เพื่อให้ผู้ที่มานมัสการได้ตี เป็นการแผ่ส่วนกุศลแก่เพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย พระอุโบสถและพระวิหารต่างๆ ที่อยู่รายรอบ ล้วนสร้างตามแบบศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เชิงบันไดนาคมีศาลาเปลื้องพระภูษา สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์ก่อนขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาท ในศาลาประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก

“พระอุโบสถ”
“พระวิหาร”

ส่วนพระอุโบสถและพระวิหารที่อยู่รายรอบล้วนเป็นศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

“พระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธปฏิมากร”
“พระปรางค์เจดีย์”
“พิพิธภัณฑ์โบราณ”
“วิหารหลวงพ่อโต พระปาเลไลก์”
“หลวงพ่อโต”
“พระพุทธไสยาสน์”

“บันไดเดินขึ้นเขาพระพุทธฉาย(เงา)และถ้ำพระนอน”
“พระพุทธฉาย”
“วิหารเขาโพธิลังกา”
“จุดชมวิวบนยอดเขา”
“ร้านค้าชุมชน ด้านหน้าวัดฯ”
“ร้านค้าชุมชน บริเวณด้านหน้าวัด”

แผนที่วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร


 

Comments

comments