วัดไชโย วรวิหาร ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
พระอารามหลวง ชั้นโท
Wat Chaiyo Worawihan, Chaiyo Subdistrict, Chaiyo District, Ang Thong.
“กราบสักการะบูชาขอพร พระมหาพุทธพิมพ์ (หลวงพ่อโตวัดเกษไชโย) พระประธานในพระอุโบสถและสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) ทำบุญเสริมสิริมงคล บรรยากาศดีริมแม่น้ำเจ้าพระยา “

พระประธานในพระอุโบสถ

ที่ตั้งวัดไชโยวรวิหาร
พระอารามหลวง ชั้นโท
เลขที่ 21 หมู่ที่ 3 ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
เบอร์โทรติดต่อ 035-647 276, 035-525 867, 035-525 880

วัดไชโยวรวิหาร_17

ประวัติวัด

“พระมหาพุทธพิมพ์” หรือ “หลวงพ่อโต วัดเกษไชโย”

วัดไชโยวรวิหาร หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า วัดไชโย เดิมเป็นวัดราษฏร์สร้างมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏใช้ชื่อว่า “วัดเกษไชโย” ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ขึ้นมาสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่หรือหลวงพ่อโตไว้กลางแจ้ง ไม่มีพระวิหารครอบ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโย เมื่อมีการสร้างวิหารก็จำเป็นต้องมีการกระทุ้งราก พระพุทธรูปใหญ่ทนการกระเทือนไม่ได้ก็พังทลายลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร ขนาดหน้าตักกว้าง 16.10 เมตร ความสูงสุดยอดพระรัศมี 22.65 เมตร และพระราชทานนามว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” วิหารของวัดไชโยนี้หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา มีการสร้างพระอุโบสถรวมทั้งศาลารายรอบพระวิหารรวมอีกสี่หลัง รวมเวลาที่ปฏิสังขรณ์นาน 8 ปี และยกฐานะของวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชื่อ “วัดไชโยวรวิหาร” แต่ชาวบ้านทั่วไปก็ยังคงนิยมเรียกชื่อว่าวัดเกษไชโย

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )

จนเมื่อคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม (ซึ่งขณะนั้นท่านยังดำรงสมณะศักดิ์พระเทพกวี) ได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้นที่วัดแห่งนี้ในสมัยรัชกาลที่ 4 หรือประมาณปี 2400-2405 จึงทำให้วัดไชโยวรวิหารกลายเป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงนับจากนั้น

“พระมหาพุทธพิมพ์” หรือ “หลวงพ่อโต”
“พระมหาพุทธพิมพ์” หรือ “หลวงพ่อโต”

โดย “พระมหาพุทธพิมพ์” หรือ “หลวงพ่อโต” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก ประดิษฐานในวิหารวัดไชโยวรวิหาร มีพุทธลักษณะเป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตัก 8 วา 7 นิ้ว ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง และเนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต ต่างเป็นที่ประจักษ์และกล่าวขานกันดีของชาวอ่างทองว่ากันว่า ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มากจะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้ เนื่องจากเมื่อเข้าใกล้องค์พระ จะมองเห็นหลวงพ่อโต กำลังจะล้มลงมาทับนั่นเอง


ภาพบรรยากาศวัดไชโยวรวิหาร

จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ
บริเวณด้านข้างพระวิหารหลวงพ่อโต
พลับพลาพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕
พระบรมรูปรัชกาลที่ ๕
ร้านค้าด้านข้างพระวิหาร
ด้านหน้าพระวิหารหลวงพ่อโต
พระพุทธรูประหว่างพระวิหารและพระอุโบสถ

พระวิหารหลวงพ่อโต
พระวิหารหลวงพ่อโต
พระอุโบสถตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหารหลวงพ่อโต

พระพุทธรูปในศาลารายรอบพระวิหาร

ทำบุญเสริมสิริมงคล

บริเวณท่าน้ำวัดไชโย บรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยา

บริเวณทางเข้าวัดไปสักการะหลวงพ่อโต

ร้านค้าท้องถิ่นหน้าวัด – ลานจอดรถ


การเดินทางมาวัดไชโยวรวิหาร

วัดไชโยวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลไชโย อำเภอไชโย จากอ่างทองใช้ทางหลวงหมายเลข 309 (อ่างทอง-สิงห์บุรี) ประมาณ 17 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาบริเวณสถานีตำรวจภูธรตำบลไชโยอีกประมาณ 300 เมตร จะถึงจุดหมาย

Comments

comments