วัดสระเกษ (หลวงปู่โต๊ะ) ต.ไชยภูมิ อ.ไชโย อ่างทอง
Wat Saket (Luang Pu To), Chaiyaphum Subdistrict, Chaiyo District, Ang Thong.
“วัดเก่าแก่สมัยอยุธยา วัดนี้สมเด็จพระนเรศวรทรงสรงน้ำชำระพระวรกาย ล้างพระพักตร์ และสระพระเกศาหลังชนะศึกรบพม่า, กราบบูชาหลวงปู่โต๊ะ พระเกจิเมืองอ่างทอง”

ที่ตั้งวัดสระเกษ อ่างทอง
เลขที่ 53 หมู่ที่ 7 ตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง 14140
เบอร์โทรติดต่อ 035-525880, 035-525867

ประวัติวัดสระเกษ
เดิมชื่อวัดเสาธงหิน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1892 มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อันยาวนานของไทยและเป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

เหตุที่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดสระเกษนั้น ตามประวัติเล่าว่า ในราวปี พ.ศ.2128 พม่าได้ยกกองทัพมารุกรานกรุงศรีอยุธยา โดยพระเจ้าหงสาวดีสั่งให้เจ้าเชียงใหม่ยกทัพมาตี จนในเช้าตรู่วันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงยกทัพออกมาตั้งรับกองทัพพม่าที่บ้านสระเกษและทรงได้รับชัยชนะ พวกกองทัพไทยต่างยินดีและไชโยโห่ร้องรื่นเริง

รูปปั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงสระพระเกศา

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงรับสั่งให้พักกองทัพ ส่วนพระองค์ได้สรงน้ำชำระพระวรกาย ล้างพระพักตร์ และสระพระเกศา ณ ที่นี้ นับแต่นั้นเป็นต้นมาจึงได้ชื่อว่า “บ้านสระเกษ” หรือ “วัดสระเกษ

พระอุโบสถ

การสร้างโบสถ์ของวัดสระเกษมีความสวยงามตามแบบศิลปะไทย โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 22.50 เมตร ครอบโบสถ์เดิมและได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานอักษรพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” จากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้จารึกไว้ที่หน้าบันของโบสถ์ทั้งสองด้าน ส่วนภายในประดิษฐาน “พระพุทธเกษรังสี

พระพุทธเกษรังสี
หลวงปู่โต๊ะ

 รูปหล่อหลวงพ่อโต๊ะ พระเกจิที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง

บริเวณโดยรอบมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ที่สวยงามตามแบบฉบับกรุงรัตนโกสินทร์

ภาพบรรยากาศวัดสระเกษ อ่างทอง

การเดินทางมาวัดสระเกษ อ่างทอง
โดยทางรถยนต์ เส้นทางที่ 1 ใช้เส้นทางสายพหลโยธิน ทางหลวงหมายเลข 32 จากกรุงเทพฯ แยกเข้าเส้นทางสายเอเชีย ผ่านอำเภอบางปะอิน-พระนครศรีอยุธยา-อำเภอบางปะหัน-อ่างทอง รวมระยะทาง 105 กิโลเมตร

Comments

comments