วัดพุทไธศวรรย์ ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา
Wat PhutThai Sawan, Phra Nakhon Si Ayutthaya

สักการะหลวงพ่อดำ “พระพุทธรูปปูนปั้นสีดำปางมารวิชัย” , พระไสยาสน์ในวิหารพระพุทไธศวรรค์, ชมพระปรางค์ ศิลปะแบบสุโขทัย, โบราณสถาน วิหารหลวง, อนุสาวรีย์ ๕ กษัตริย์ กรุงศรีอยุธยา และมณฑปพระเจ้าอู่ทอง

 

ที่ตั้งวัดพุทไธศวรรย์ อยุธยา
หมู่ที่ 8 ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
เปิดเข้าทัวร์วัดได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 17.00 ไม่มีค่าใช้จ่าย

ประวัติวัดพุทไธศวรรย์

วัดพุทไธศวรรย์ อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงขามกับพระนครด้านใต้ สร้างขึ้นบริเวณที่ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอู่ทองอพยพจากเมืองอู่ทองมาตั้งอยู่ก่อนที่สร้างกรุงศรีอยุธยาที่ตรงนี้เรียกว่า “เวียงเหล็ก” หรือ “เวียงเล็ก” ครั้นเมื่อสร้างกรุงศรีอยุธยาแล้วจึง พ.ศ. 1896 สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงโปรดให้สร้างวัดพุทไธสวรรย์ ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกครั้งที่ พระองค์เสร็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม ในปัจจบันยังเหลือซากโบราณสถานเหลืออยู่หลายอย่าง เช่น ปรางค์องค์ใหญ่ พระอุโบสถ พระวิหาร และวิหารพระนอน และตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ไปนมัสการพระพุทธรูปที่ลังกาทวีปภาพเหล่านี้ ฝีมืองามมากแต่น่าเสียดายที่ลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว ที่มุขเด็จพระปรางค์องค์ใหญ่มีรูปพระเจ้าอู่ทอง รูปพระเจ้าอู่ทองนี้เดิมทำเป็นเทวรูปในรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2327 พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเทพพลภักดิ์ ซึ่งบัญชาการกรมพระคชบาลเสด็จออกไปซ่อมเพนียดที่พระนครศรีอยุธยาทรงพบเข้า จึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดให้เชิญเทวรูปนั้น ลงมากรุงเทพ แล้วโปรดให้หล่อแปลงใหม่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหุ้มเงินทั้งองค์ และโปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ หอพระเทพบิดร ส่วนรูปที่เรียกกันว่า “พระเจ้าอู่ทอง” ในปัจจุบันเป็นของหล่อขึ้นใหม่แทนของเดิมที่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องยืนตรงมุขข้างปรางค์ ไม่ได้ตั้งอยู่ ณ ที่เดิม วัดนี้ได้ปฏิสังขรณ์ยอดปรางค์ครั้งหนึ่งในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2441

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์ เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งมีฐานะเป็นพระอารามหลวง (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา, ๒๕๐๐, หน้า ๒๑๕) ซึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว ๓ ปี โดยเลือกภูมิสถานบริเวณที่เรียกกันว่า ตำบลเวียงเหล็ก เรื่องราวของการสร้างวัดนี้ปรากฎอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่า

ศักราช ๗๑๕ ปีมะเส็ง เบญจศก (พ.ศ. ๑๘๙๖) วันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๑ ค่ำ เพลา ๒ นาฬิกา ๕ บาท ทรงพระกรุณาตรัสว่า ที่พระตำหนักเวียงเหล็กนั้นให้สถาปนาพระวิหารและพระมหาธาตุเป็นอารามแล้ว ให้นามชื่อ วัดพุทไธศวรรย์

(พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา, ๒๕๐๗, หน้า ๓)

ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ วัดพุทไธศวรรย์ ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ตั้งทัพของพม่า ในคราวที่ยกทัพมาล้อมกรุงฯ เพื่อทำการรบกับกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากวัดพุทไธศวรรย์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ เมื่อครั้งที่พระเจ้าบุเรงนอง แห่งกรุงหงสาวดี ทรงส่งพระราชสาส์น มาขอม้าและช้างเผือก จากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แต่ถูกปฏิเสธ พระเจ้าบุเรงนองจึงยกทัพเข้ามาและกวาดต้อนเอากำลังทางหัวเมืองของไทยมาสมทบ ด้วย เมื่อยกทัพมาถึงกรุงศรีอยุธยา ดังข้อความว่า

“ในวันพุธ เดือนยี่ แรม ๑๐ ค่ำ ศักราช ๙๑๑ ปีระกา เอกศก (พ.ศ. ๒๐๘๒) จึงโปรดให้พระมหาอุปราช เป็นกองหน้าตั้งค่าย ณ ตำบลเพนียด ทัพพระเจ้าแปรเป็นปีกซ้าย ตั้งค่าย ณ ตำบลทุ่งโพธาราม เป็นกองหน้าตั้งค่าย ณ ตำบลเพนียด ทัพพระเจ้าแปรเป็นปีกซ้าย ตั้งค่าย ณ ตำบลทุ่งโพธาราม ทัพพระเจ้าอังวะเป็นปีกขวา ตั้งค่าย ณ ตำบลพุทไธศวรรย์ ทัพพระยาตองอู ทัพพระยาจิตตอง ทัพพระยาละเคิ่ง เกียกกาย ตั้งค่ายวัดท่าการ้องลงไปถึงวัดไชยวัฒนาราม ทัพพระยาสิน, ทัพพระยาสะเรียง กองหน้าทัพหลวงตั้งค่าย ณ ตำบลลุ่มพลี ทัพหลวงตั้งค่าย ณ ตำบลวัดโพธิ์เผือก ทุ่งขนอนปากคู ทัพสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ตั้งค่าย ณ ตำบลมะขามหย่อง (หลังค่ายหลวง)”

พระอุโบสถ

ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของปรางค์ประธานและระเบียงคต เป็นอาคารอิฐถือปูนยาว 32.70 เมตร กว้าง 14 เมตร ฐานของพระอุโภสถเป็นฐานตรงไม่แอ่นเป็นท้องสำเภอ ไม่เหมือนกับอาคารในสมัยอยุธยาตอนปลายภายในมีพระพุทธรูปสามองค์ขนาดใหญ่ที่บนฐานชุกชี ได้รับการปฏิสังขรณ์ลงสักปิดทองใหม่ เป็นศิลปกรรสมัยอยุธยาตอนต้น แต่ลักษณะของฐนพระพุทธรูปที่ทำเป็ฯบัวคล่ำบัวหงานอยู่บนฐานเชียงไม่สูงนั้น อาจสะท้อนให้เห็ฯได้ว่า พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ มีอายุเก่าแก่ไปถึงสมัยอยุธยาตอนกลางราวพุทธศัตวรรษ์ที่ 20-21 โดยรอบพระอุโบสถท้ง 8 ทิศ มีใบเสมาหินชนวนขนาดใหญ่และหนา จำนวน 8 คู่ 16 ใบมีลักษณะเหมือนแบบสมัยอยุธยาตอนต้น

เสมาคู่รอบพระอุโบสถ

เสมาเป็นเครื่องหมายปักเขตอุโบสถ นิยมปักไว้รอบพระอุโบสถ 8 ทิศ วัดใดมีใบเสมาคู่ถือเป็นวัดหลวง ใบเสมาติดตั้งอยู่หน้าโบสถ์ เรียกว่า ใบเสมา ในสมัยอยุธยาตอนต้นมักทำจากหินชนวนขนาดใหญ่สูงประมาณ 1 เมตร หนามาก โดยเอาแบบอย่างมาจากสุโขมัย และเสมาหินยานลังกาของอโยธยาตอนปลาย


สถานที่สำคัญในวัดพุทไธศวรรย์

1. พระอนุสาวรีย์กษัตริย์ 5 พระองค์
2. กราบสักการะหลวงพ่อดำ “พระพุทธรูปปูนปั้นสีดำปางมารวิชัย” ขอให้หายเจ็บป่วย ขอบุตร
3. พระปรางค์ “พระมหาธาตุ” ศิลปะแบบสุโขทัย
4. วิหารหลวง (โบราณสถาน)
5. พระระเบียงคต เป็นพุทธศิลปะแบบสุโขทัย
6. ใบเสมาคู่ ใบเสมาคงเป็นแบบหินยานลังกาเหมือนสมัยสุโขทัยตอนต้น
7. วิหารพระนอน “วิหารพระพุทไธศวรรย์”
8. ตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
9. ประตูอาคม “สำนักดาบวัดพุทไธศวรรย์”
10.กุฏิเจ้าอาวาส พระพุทไธศวรรย์วรคุณ
11. กราบสักการะแม่พระธรณี
12. กราบสักการะองค์ท่านพ่อจตตุคามรามเทพ “ตำนานเหล็กไหล จตุคามรามเทพ”
13. มหามณฑปสุวรรณโฑฬังรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)

พระอนุสาวรีย์กษัตริย์ 5 พระองค์
1. พระอนุสาวรีย์กษัตริย์ 5 พระองค์

กราบสักการะหลวงพ่อดำ "พระพุทธรูปปูนปั้นสีดำปางมารวิชัย" ขอให้หายเจ็บป่วย ขอบุตร2. กราบสักการะหลวงพ่อดำ “พระพุทธรูปปูนปั้นสีดำปางมารวิชัย” ขอให้หายเจ็บป่วย ขอบุตร

พระปรางค์ "พระมหาธาตุ" ศิลปะแบบสุโขทัย3. พระปรางค์  “พระมหาธาตุ” ศิลปะแบบสุโขทัย

วิหารหลวง
4. วิหารหลวง (ซากโบราณสถาน วิหารหลวง)

พระระเบียงคต เป็นพุทธศิลปะแบบสุโขทัย
5. พระระเบียงคต เป็นพุทธศิลปะแบบสุโขทัย

ใบเสมาคู่ ใบเสมาคงเป็นแบบหินยานลังกาเหมือนสมัยสุโขทัยตอนต้น6. ใบเสมาคู่ เป็นแบบหินยานลังกาเหมือนสมัยสุโขทัยตอนต้น

วิหารพระนอน "วิหารพระพุทไธศวรรย์"7. วิหารพระนอน  “วิหารพระพุทไธศวรรย์”


พระไสยยาสน์

ตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
8. ตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

ประตูอาคม "สำนักดาบวัดพุทไธศวรรย์"
9.ประตูอาคม “สำนักดาบวัดพุทไธศวรรย์”

 

กุฏิเจ้าอาวาส พระพุทไธศวรรย์วรคุณ
10.กุฏิเจ้าอาวาส พระพุทไธศวรรย์วรคุณ

 

กราบสักการะแม่พระธรณี
11.กราบสักการะแม่พระธรณี

 

กราบสักการะองค์ท่านพ่อจตตุคามรามเทพ "ตำนานเหล็กไหล จตุคามรามเทพ"
12.กราบสักการะองค์ท่านพ่อจตตุคามรามเทพ “ตำนานเหล็กไหล จตุคามรามเทพ”

 

พระเจ้าอู่ทอง
13.มหามณฑปสุวรรณโฑฬังรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)


ภาพบรรยากาศภายในวัดพุทไธศวรรย์
[smartslider3 slider=128]


การเดินทางไปวัดพุทไธศวรรย์
พิกัด : 14.339782, 100.557519

เดินทางโดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ขึ้นทางด่วนปากเกร็ด-บางปะอิน ไปลงที่เชียงรากน้อยบรรจบกับถนนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 หรือถนนกาญจนาภิเษก ขับตรงไปอีกนิดเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ตรงไปจนถึงสี่แยกวรเชษฐ์ เลี้ยวขวามาทางอยุธยาพาวิเลียน ตรงไปจนเจอไฟแดงแรก เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3469 ตรงไปอย่างเดียวจะมีป้ายบอกตลลอดทาง

©เครติดภาพ คุณทิฆัมพร ตันติวิมงคล

Comments

comments