.
วัดมหาพฤฒาราม วรวิหาร แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

Wat Maha Phruettharam Worawiharn , Bang Rak, Bangkok

“สักการะบูชาพระพุทธไสยาสน์ และพระประธานในพระอุโบสถ ชมสถาปัตยกรรมลายปูนปั้นของพระอุโบสถ ภาพเขียนจิตกรรมภายในพระอุโบสถ”
.

ที่ตั้งวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร
ตั้งอยู่บน ถนนมหาพฤฒาราม แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

ประวัติวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร

วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมเป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของคลองผดุงกรุงเกษม แต่เดิมในช่วงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น วัดนี้แต่เดิมชื่อว่า “วัดท่าเกวียน” ซึ่งมีตำนานว่า พระเจ้าอู่ทอง ได้หนี โรคห่า มาตั้งเกวียนที่นี่ บ้างก็ว่าเป็นที่พักแรมของกองเกวียน ที่เดินทางจากหัวเมืองต่าง ๆ เข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ แต่ต่อมาชาวบ้านก็พากันเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดตะเคียน” สันนิษฐานว่า เรียกชื่อวัดตามต้นตะเคียนที่ขึ้นหนาแน่นอยู่รอบบริเวณวัดที่มีอาณาบริเวณถึง 14 ไร่


ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์เคยอยู่ในเพศบรรพชิตได้เสด็จมาพระราชทานผ้าป่าที่วัดนี้ โปรดให้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดตะเคียน” ในคราวนั้น พระอธิการแก้วเจ้าอาวาสได้ทูลถวายพยากรณ์ว่า “จะได้เป็นเจ้าชีวิตในเร็วๆนี้” พระองค์จึงมีรับสั่งว่า “ถ้าได้ครองแผ่นดินจริงจะมาสร้างวัดให้อยู่ใหม่” หลังจากนั้นหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาวัดขึ้นใหม่ ในเวลาต่อมาจึงโปรดให้พระราชทานสมณะศักดิ์ พระอธิการแก้วเป็น “พระมหาพฤฒาจารย์” และโปรดให้สร้างพระอารามใหม่ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2397 จนถึง พ.ศ. 2409 โดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองในการสถาปนา ต่อมาเมื่อทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงโปรดฯ ให้สถาปนาขึ้นในพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า “วัดมหาพฤฒาราม

สิ่งสำคัญในพระอาราม ได้แก่ บานประตู หน้าต่าง หน้าบันของพระอุโบสถเป็น ลายปูนปั้นมหามงกุฎ เป็นพระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 4 ส่วนที่หน้าบันของพระวิหารเป็น ลายปูนปั้นจุลมงกุฎ เป็นพระราชลัญจรในรัชกาลที่ 5

จิตกรรมภายในพระอุโบสถเป็นภาพ ชุดธุดงค์ ซึ่งเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่เขียนเรื่อง “ธุดงควัตร13” และการไปสืบพระพุทธศาสนาที่ลังกา แทนการเขียนเรื่องทศชาติชาดกหรือพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ของวัดอื่น โดยนำเอาศิลปะทางตะวันตกมา นำเอาวิธีการเขียนภาพแบบ 3 มิติ ตามวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในการเขียนภาพทิวทัศน์ มีการจัดองค์ประกอบภาพให้มีความลึก เหมือนจริงตามธรรมชาติ และรับเอารูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในการวาดภาพตกแต่งประดับอาคาร พระอุโบสถของวัดมหาพฤฒาราม


ภาพบรรยากาศวัดมหาพฤฒาราม ในปี 2563
[smartslider3 slider=161]


การเดินทางมาวัดมหาพฤฒาราม บางรัก กรุงเทพมหานคร

© เครดิตภาพคุณทิฆัมพร ตันติวิมงคล


Comments

comments