วัดเขาวงพระจันทร์ ต.ห้วยโป่ง อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี
Wat Khao Wong Phrachan, Huai Pong Subdistrict, Khok Samrong District, Lopburi
“สักการะบูชาพระพุทธโชค พิสูจน์ใจ ความศรัทธากับภาระกิจพิชิตเขาวงพระจันทร์
บันไดขึ้นสู่ยอดเขา 3,790 ขั้น เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท”

ที่ตั้งวัดเขาวงพระจันทร์
ตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี 15120

ประวัติวัดเขาวงพระจันทร์
วัดเขาวงพระจันทร์ เป็นวัดราษฏร์ มหานิกาย มีพระพุทธรูปที่สำคัญคือ พระพุทธโชค มีรอยพระพุทธบาทรอยที่ 4 อยู่บนยอดเขา เป็นวัดที่มีความเกี่ยวโยงกับตำนานของจังหวัดลพบุรี เป็นเขาที่ได้ชื่อว่าสูงที่สุดในจังหวัดลพบุรี

จะมีทางบันไดไปสู่ยอดเขาประมาณ 3,799 ขั้นยอดเขานี้สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 650 เมตร ถ้าวัดจากเชิงเขาถึงยอดเขาโดยแนวบันไดจะยาว 1,680 เมตร

ใช้เวลาเดินทางจากเชิงเขาถึงยอดเขาประมาณ 2-3 ชั่วโมง สองข้างทางจะเต็มไปด้วยป่าไม้ขึ้นสลับซับซ้อนเต็มไปหมด บางแห่งจะเป็นที่ลาด บางแห่งจะเป็นที่ชัน

เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาวงพระจันทร์จะมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้ไกลสุดสายตา

รอยพระพุทธบาทบนยอดเขาวงพระจันทร์

สถานที่นี้เป็นแหล่งสะสมวัตถุโบราณ ของหายากมากมาย และพระพิมพ์ต่างๆมากมาย เพราะ หลวงปู่ฟัก อดีตเจ้าอาวาสท่านเป็นนักสะสมพระเครื่องมาก่อนที่ท่านจะบวช ซึ่งมีการจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ได้ชมกันอีกด้วย

พระพุทธโชค หรือ “พระเชียงแสน” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดลพบุรี และใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ของประเทศไทย (รองจากพระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ) “พระพุทธโชค” ประดิษฐานอยู่บริเวณริมเชิงเขาวงพระจันทร์

โดยแรกเริ่มโครงการก่อสร้างจะใช้ชื่อว่า “พระเชียงแสน” องค์พระก่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดหน้าตักกว้าง 45 เมตร สูง 75 เมตร เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2553 ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างองค์พระ 8 ปี (โดยประมาณ)

ในปัจจุบัน “พระเชียงแสน” ได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2561 และมีการจัดพิธีถวายพระนามใหม่ว่า “พระพุทธโชค” เมื่อวันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561 และมีพิธีสมโภชพระพุทธโชค เมื่อวันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561 โดยสมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นองค์ประธาน พร้อมด้วยกรรมการมหาเถรสมาคมรูปอื่น ตลอดจนพระมหาเถระที่มีชื่อเสียงร่วมประกอบพิธีอีกเป็นจำนวนมาก

ในส่วนบริเวณพื้นที่รอบๆองค์พระพุทธโชค ด้านหน้าเป็นลานกว้างประกอบไปด้วย บันไดขึ้นสู่องค์พระ, ศาลาธรรมขนาดใหญ่ จำนวน 2 หลัง, จุดชมวิว, อนุสรณ์หนุมาน ฯลฯ

ด้านหลังเป็นพื้นที่จอดรถ, บันไดขึ้นสู่ด้านหลังองค์พระ และยังมีพื้นที่ในบางจุดยังอยู่ในระหว่างก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ

ตำนานเขาวงพระจันทร์
ตามตำนาน… หลังจากเสร็จศึกระหว่างพระรามกับทศกัณฑ์เป็นที่เรียบร้อย ยังมีพญายักษ์ตนหนึ่งไม่ยอมพ่ายแพ้ชื่อท้าวกกขนาก (ชื่อจริงคือท้าวอุณาราช) พระรามจึงใช้ต้นกกแทนลูกศรแผลงยิงท้าวกกขนากลอยมาตกลงที่ยอดเขาในเมืองลพบุรีซึ่งก็คือยอดเขาแห่งนี้ ลูกศรของพระรามตรึงไม่ให้ท้าวกกขนากลุกขึ้นมาแผลงอิทธิฤทธิ์และพระรามยังได้สั่งให้ไก่แก้วเฝ้าท้าวกกขนากไว้

หากลูกศรมีอันเขยื้อนให้ขันเรียกหนุมาน ผู้เป็นเจ้าเมืองลพบุรี (ย้อนกลับไปอ่านความเรื่องศาลลูกศรได้นะจ๊ะ) เหาะเหินเดินอากาศมาตอกค้อนตรึงศรให้แน่นดังเดิม ทว่าลูกศรของพระรามมีจุดอ่อนคือหากถูกราดด้วยน้ำส้มสายชูจะคลายลง ทำให้ในอดีตไม่มีชาวลพบุรีคนใดกล้านำน้ำสมสายชูเข้าเมืองเพราะเกรงว่าจะถูกนางนงประจันต์ หรือนางพระจันทร์ บุตรสาวของท้าวกกขนากมาแอบลักเอาไปช่วยบิดา เมื่อนางพระจันทร์ไม่อาจช่วยบิดาได้ก็ตรอมใจตาย ฝ่ายท้าวกกขนากพอรู้ว่าลูกสาวตายจึงตายตามไปด้วย และนั่นทำให้ชาวบ้านเรียกเขาลูกนี้ว่าเขานางพระจันทร์

นอกเหนือจากเรื่องตำนาน ยังมีเรื่องราวอยู่ว่า .. หลวงพ่อโอภาสี ภิกษุผู้เป็นที่เคารพของประชาชนธุดงค์มายังภูเขาแห่งนี้และเห็นว่ามีลักษณะเป็นวงกลมโอบล้อมจึงให้เรียกเสียใหม่ว่าเขาวงพระจันทร์


ภาพบรรยากาศวัดเขาวงพระจันทร์

ซุ้มประตูทางเข้าวัดริมถนนพหลโยธิน
ซุ้มประตูวัด

พระอุโบสถ
งานประจำปีเขาวงพระจันทร์
เจ้าแม่กวนอิมบนยอดเขาวงพระจันทร์



การเดินทางไปวัดเขาวงพระจันทร์

Comments

comments