วัดเขียนเขต (คลองสี่) ต.บึงยี่โถ อ.ธัญบุรี ปทุมธานี
Wat Khian Khet (Khlong Si), Bueng Yitho Subdistrict, Thanyaburi District, Pathum Thani.
พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
“สักการะบูชาพระประธานในพระอุโบสถ หลวงพ่อโสธร  รอยพระพุทธบาทจำลอง ไหว้พระปิดทองรูปเหมือนหลวงปู่ช้าง และหลวงพ่อเปลื้องวัดเขียนเขต โรงเรียนพระปริยัตธรรม”

ที่ตั้งวัด
เลขที่ 43 หมู่ 2 ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี (ริมฝั่งคลองรังสิตประยูรศักดิ์)

ประวัติวัดเขียนเขต
ประวัติเดิม วัดเขียนเขตได้สร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2439 ณ หมู่ที่ 2 ตำบลบึงยี่โถ อำเภอรังสิต จังหวัดธัญญบุรี (ปัจจุบันเป็นตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี) โดยมีหม่อมเขียน หม่อมในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสาย สนิทวงศ์ เป็นผู้มอบถวายที่ดินให้สร้างวัด และมีหลวงพ่อดำเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก หม่อมเขียนฯ พร้อมด้วยเครือญาติ และประชาชนในท้องถิ่นนี้ ได้ช่วยกันก่อสร้าง และบำรุงวัดนี้ เพื่อเป็นศาสนสมบัติใน พระพุทธศาสนาตลอดมา

วัดเขียนเขต เดิมชื่อว่า “วัดสาลีเขตตาราม” ตามความหมายคือ “อารามอันเป็นเนื้อนาบุญแห่งข้าว” เพราะวัดนี้ตั้งอยู่ในทุ่งหลวงรังสิต ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวนี้เต็มไปด้วยข้าวกล้าและพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง ผู้ให้นามวัดจึงให้นามวัดว่า “วัดสาลีเขตตาราม” ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่นั้น ๆ

ในปี พ.ศ. 2445 หม่อมเขียน ฯ ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตขอพระราชทานวิสุงคามสีมาและได้รับพระบรมราชานุญาต เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2445 ร.ศ. 121 (ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 20 หน้า 88 วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 ร.ศ. 122 จ.ศ. 1265 ค.ศ. 1903 ลำดับที่ 150 ว่า “วัดสาลีเขตตาราม” เมืองธัญญบุรี เขียน (หม่อมเขียน) ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสาย สนิทวงศ์ ผู้ขอพระบรมราชานุญาต ให้เนื้อที่ยาว 15 วา กว้าง 8 วา ลงวันที่ 6 มีนาคม ร.ศ. 121)

เมื่อราวปี พ.ศ. 2460 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เสด็จมาตรวจการคณะสงฆ์จังหวัดธัญญบุรี ได้มาพักแรมที่วัดสาลีเขตตาราม พันตรีหม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์ และนายพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ ได้ทูลขอพระราชทานเปลี่ยนนามวัดสาลีเขตตารามให้เหมาะสมกับชื่อของผู้ริเริ่มสร้างวัด คือหม่อมเขียน ซึ่งเป็นมารดา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรวโรรส ทรงรับทราบแล้วพิจารณาเห็นว่า หม่อมเขียนฯ เป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดโดยบริจาคทรัพย์ส่วนตัว กับทั้งได้บริจาคที่ดินของตนให้กับวัด และยังเป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะ กอปร์ด้วยศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พระองค์จึงทรงเปลี่ยนนามวัดสาลีเขตตาราม ให้มีนามของผู้สร้างคือหม่อมเขียนติดอยู่เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์สกุลสนิทวงศ์ และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้สร้างใหม่ว่า “วัดเขียนเขต” ความหมายคือ “อารามอันเป็นเนื้อนาบุญ ของหม่อมเขียน” มาจนถึงทุกวันนี้

อีกประการหนึ่ง วัดนี้มีสัญลักษณ์ที่สำคัญ คือ ระฆัง ที่ตีบอกสัญญาณ โดยระบุจารึกไว้ที่ระฆังว่า คุณยายเขียน มารดาคุณหญิงเสงี่ยม บริจาคทรัพย์ออกหล่อระฆัง ศรัทธาบูชาในพุทธศาสนาเป็นทองสามหาบ ขอเป็นปัจจัยแก่พระนิพพานเทอญ พ.ศ. ๒๔๓๙ ปี วอก

วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 ร.ศ. 148 หลวงปู่ช้างท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตร ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดธัญญบุรี มีราชทินนามว่า “พระครูธัญญเขตเขมากร บวรสมณาจารย์ สังฆวาหะ

วัดเขียนเขตได้สร้างวัดมานานแล้วก็จริง แต่ยังไม่มีโฉนดเป็นของวัดเลย เพราะสืบเนื่องมาจากว่า ที่ดินที่เป็นบริเวณที่ตั้งวัดและที่ธรณีสงฆ์ หม่อมทวีวัฒนศักดิ์ (ม.ร.ว.ทวี) ซึ่งได้มรดกในที่ดินผืนใหญ่นี้ยังไม่ได้แบ่งแยกให้กับทางวัด ต่อมาทายาทมิได้ทราบว่าที่ดินที่ได้รับมรดกนี้มีวัดอยู่ด้วย จึงได้ทำการขายโฉนดผืนใหญ่นี้ให้กับผู้อื่นโดยมิได้มีการรังวัดเลย และผู้นั้นได้ขายทอดต่อมาจนถึงนายปราโมทย์ นางประณีต สุวรรณสุขโรจน์ ซึ่งเป็นผู้ซื้อรายสุดท้าย เมื่อนายปราโมทย์ นางประณีตได้ไปสำรวจที่ดินและทราบว่าที่ดินที่ตนซื้อนี้มีวัดติดอยู่ด้วย จึงได้มอบคืนที่ดินให้เป็นที่ธรณีสงฆ์วัดเขียนเขต จำนวน 85 ไร่ เมื่อทางทายาทหม่อมทวีวัฒนศักดิ์ (ม.ร.ว.ทวี) ทราบ จึงติดต่อขอเสียค่าหักโอนที่ดินจำนวน 85ไร่ เพื่อมอบให้กับทางวัดมีสิทธิ์สมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2426



วัดเขียนเขต
ได้รับยกเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดเขียนเขต ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2534 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534

ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้ อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ. 2522- 2530 สร้างขึ้นแทนหลังเก่าที่มีสภาพทรุดโทรม มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ กุฎีสงฆ์เป็นอาคารไม้และคอนกรีตเสริมเหล็ก หอสวดมนต์สร้างเมื่อ พ.ศ. 2540 เป็นอาคาร 2 ชั้น ทรงไทยโบราณ ศาลาการเปรียญสร้างเมื่อ พ.ศ. 2533 วิหาร ศาลาอเนกประสงค์ ศาลาบำเพ็ญกุศล ฌาปนสถาน หอระฆัง วิหารหลวงปู่ช้าง พระวิหารหลวงพ่อโสธร หอกลอง เรือนรับรอง โรงเรียนพระปริยัตธรรม รอยพระพุทธบาทจำลอง พร้อมด้วยรูปเหมือนหลวงปู่ช้าง และหลวงพ่อเปลื้องวัดเขียนเขต


พระวิหารหลวงพ่อโสธร
หลวงพ่อโสธร
พระพุทธรูปในวิหารหลวงพ่อโสธร
พระพุทธรูปในวิหารหลวงพ่อโสธร
พระอุโบสถ
พระอุโบสถ
พระอุโบสถ
พระอุโบสถ
พระอุโบสถ

ภาพบรรยากาศในวัดเขียนเขต พระอารามหลวง


การเดินทางไปวัดเขียนเขต รังสิต ปทุมธานี



แนะนำที่ท่องเที่ยวรอบวัด

  • ร้านกาแฟชายทุ่ง ถัดจากวัดไปตามถนนรังสิต-นครนายก 2 กม.   ร้านกาแฟของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เปิดให้บริการประชาชนได้เข้ามาอุดหนุน พร้อมนั่งจิบกาแฟรสละมุนโดนใจ

Comments

comments