วัดสมณโกฏฐาราม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา
Wat Samana Kottharam, Phai Ling Subdistrict, Phra Nakhon Si Ayutthaya.

“สักการะบูชาพระศรีสมณโกฏบพิตรพระประธานในพระอุโบสถ พระพิชิตมารโมฬีพระประธานบนฐานพระวิหารเก่า, วัดประจำตระกูลโกษาเหล็ก-โกษาปาน, สักการะพระเจ้าตากสินมหาราช”


ที่ตั้งวัดสมณโกฏฐาราม
ตั้งอยู่ใกล้กับวัดกุฎีดาว ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000

ประวัติวัดสมณโกฏฐาราม
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น และปฏิสังขาร์ขึ้นใหม่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยเจ้าพระยาโกษา (เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษา (ปาน) ในจดหมายเหตุของแกมเฟอร์ แพทย์ชาวเยอรมัน จึงได้บันทึกเรื่องราวไว้

พระพิชิตมารโมฬี

ตามบันทึกของหมอแกมบีเฟอร์ แพทย์ชาวเยอรมันที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ในสมัยพระเพทราชา ราวปีพ.ศ. 2233 ได้บันทึกเขียนแผนที่และวาดภาพผังวัดแห่งนี้ไว้ โดยใช้ชื่อว่า “วัดเจ้าพระยาพระคลัง” ซึ่งในสมัยนั้น เจ้าพระยาพระคลังคือ โกษาปาน

พระศรีสมณโกฏบพิตร

พระประธานในพระอุโบสถคือ “พระศรีสมณโกฏบพิตร” หน้าตักกว้าง 149 นิ้ว สูง 190 นิ้ว เนื้อองค์พระเป็นหินทราย ปางมารวิชัย สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น

ภายในบริเวณวัด มี ศาลโกษาเหล็ก ศาลโกษาปาน และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ในวัดประกอบด้วยฐานปรางค์ขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยระเบียงคดรูปสี่เหลี่ยม จากการขุดแต่งพบว่าปรางค์ดังกล่าวเป็นปรางค์ที่สร้างขึ้นในราวปลายสมัยอยุธยาตอนกลาง ซึ่งสร้างครอบทับเจดีย์ทรงระฆังกลมที่ตั้งอยู่บนลานประทักษิณที่ต่อเชื่อมกับเจดีย์ประจำมุมทั้งสี่และมีกำแพงแก้วล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง อันเป็นงานที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นไว้ ถัดออกมาทางด้านทิศตะวันออกนอกระเบียงคดมีวิหารขนาดใหญ่ ซึ่งได้รับการบูรณะเพิ่มเติมอีกครั้งในสมัยอยุธยาตอนปลาย เช่นเดียวกับพระอุโบสถซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัดในแนวเดียวกัน

มหาธาตุเจดีย์ที่เหลือเพียงซากฐาน และมีบันทึกในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวงว่า เป็นมหาเจดีย์ที่เป็นหลักเป็นศรีแห่งพระนคร 1 ใน 5 อีกด้วย คำว่ามหาธาตุเจดีย์ หมายถึง พระบรมธาตุที่บรรจุประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ตามบันทึกมี 5 องค์ ได้แก่ วัดมหาธาตุ วัดพระราม วัดราชบูรณะ วัดสมณโกฏฐาราม และวัดพุทไธศวรรย์


ภาพบรรยากาศวัดสมณโกฏฐาราม


การเดินทางมาวัดสมณโกฏฐาราม พระนครศรีอยุธยา

Comments

comments