Skip to content

“มนต์เสน่ห์แห่งนครลำปาง นั่งรถม้าชมเมือง
กราบขอพรพระธาตุเจดีย์ประจำราศีเกิดปีฉลู (วัว)
โบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ”


Wat Phra That Lampang Luang1

ที่ตั้งวัดพระธาตุลำปางหลวง
เลขที่ 271 หมู่ 1 ลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง 52130
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 054-328 327
วันเวลาทำการ 6.00 – 18.00 ทุกวัน

วัดพระธาตุลำปางหลวง2

ประวัติวัดพระธาตุลำปางหลวง

ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจารึกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านสัมกะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเสื่อมใสได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ และมะพร้าว มะตูม อย่างละ 4 ลูก มาถวยพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ได้มอบให้กับพระอานนท์กรองลงในบาตรแล้วทรงฉัน

เมื่อฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทรงโยนกระบอกไม้ไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่าสถานที่แห่งนี้ ต่อไปจะมีชื่อว่า สัมพกัปปะนคร (ลำปาง) แล้วพระองค์ได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้กับลัวะอ้ายกอน

ลัวะอ้ายกอน ได้นำพระเกศานั้นบรรจุในพอนทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นพุทธบูชา และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สุงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็มีเจ้าผู้ครองนครอีกหลายพระองค์มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความสมบูรณ์และสวยงามจนถึงปัจจุบัน

วัดพระธาตุลำปางหลวง1

วัดพระธาตุลำปางหลวง ถือเป็นวัดที่มีความสำคัญของจังหวัดลำปาง เป็นต้นกำเนิดของคำว่า “ลำปาง” จนมาเป็นจังหวัดลำปางในปัจจุบัน เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ไทย เจ้าผู้ครองนครลำปางและภาคเหนือทั้งหมดเคยเสด็จ และยกย่องว่าเป็นหลักของบ้านเมืองสืบมาทุกยุคทุกสมัย

Wat Phra That Lampang Luang

ในตำนานระบุไว้ว่า พระธาตุลำปางหลวง เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา ส่วนฐานเป็นบัวลูกแก้วประดับลวดบัวในผังสีเหลี่ยมจตุรัสยกเก็จ โดยเชื่อมกันด้วยชั้นหน้ากระดานที่ยึดสูงต่อขึ้นด้วยชุดบัวถลาในผังวงกลมซ้อนกัน 3 ชั้น ลักษณะบัวถลารองรับองค์ระฆังดังกล่าว แสดงความสัมพันธ์กับเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย

ภายในมีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าส่วนสำคัญบรรจุในพระธาตุเจดีย์ ได้แก่ พระเกศา พระอัฐิธาตุ พระนลาฏข้างขวา พระอัฐิธาตุ พระสอด้านหน้า ด้านหลัง ที่พระกุมารกัสสปะเถระเจ้า และพระเมฆิยเถระเจ้าอัญเชิญมาประดิษฐานไว้

วัดพระธาตุลำปางหลวง11

วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่บนเนินสูง มีการจัดวางผังและส่วนประกอบของวัดสมบูรณ์แบบที่สุด มีสิ่งก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ บริเวณพุทธาวาสประกอบด้วย องค์พระธาตุลำปางหลวง เป็นประธาน มีบันไดนาคนำขึ้นไปสู่ซุ้มประตูโขง ถัดซุ้มประตูโขงขึ้นไปเป็น วิหารหลวง

บริเวณทิศเหนือขององค์พระธาตุมีวิหารบริวารตั้งอยู่คือ วิหารน้ำแต้ม และ วิหารต้นแก้ว ด้านตะวันตกขององค์พระธาตุประกอบด้วย วิหารละโว้ และ หอพระพุทธบาท ด้านใต้มี วิหารพระพุทธ และอุโบสถ ทั้งหมดนี้จะแวดล้อมด้วยแนวกำแพงแก้วทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงแก้วด้านใต้มีประตูที่จะนำไปสู่เขตสังฆาวาส ซึ่งประกอบด้วยอาคาร หอพระไตรปิฎก กุฏิประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า อาคารพิพิธภัณฑ์และกุฏิสงฆ์

วัดพระธาตุลำปางหลวง12

วัดพระธาตุลำปางหลวง13

วิหารหลวง เป็นวิหารขนาดใหญ่ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2019 โดยเจ้าหมื่นคำเป๊ก ภายในมีซุ้มปราสาททองเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง ด้านหลังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ บนแผงไม้คอสองมีภาพจิตรกรรมเก่าแก่งดงามเรื่องทศชาติและพรหมจักร พระเจ้าล้านทอง อยู่ในวิหารหลวง มีกู่สีทองซึ่งบรรจุพระเจ้าล้านทอง เป็นประธานของพระวิหาร

 

เจ้าพ่อทิพย์ช้าง

มีอนุสรณ์การกอบกู้อิสรภาพของดินแดนล้านนาไม่ให้ตกเป็นเมืองขึ้น (ประวัติพ่อเจ้าทิพย์ช้าง)

เมื่อปี พ.ศ. 2274-2275 ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ 50 ปี เชียงใหม่ ลำพูน อยู่ภายใต้การปกครองของพม่า ลำปางขณะน้้นขาดเจ้าผู้ครองนคร มีแต่ขุนเมือง 4 คน ต่างก็แก่งแย่งชิงอำนาจกัน ข่าวนี้ได้ทราบไปถึงท้าวมหายศแม่ทัพเมืองลำพูน จึงได้ยกทับมาตีเมืองลำปางจนแตกพ่าย และได้ยึดเอาวัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นกองบัญชาการ ทหารพม่าได้กดขี่ข่มเหงราษฏรจนได้ับความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส

ในขณะนั้น ท่านสมภารวัดพระแก้วชมพู ซึ่งมีความรู้ทางด้านโหราศาสตร์ได้ทำนายว่า บุคคลที่จะมากอบกู้อิสระภาพจากการตกเป็นเมืองขึ้นของพม่านั้น คือ หนานทิพย์ช้าง มีอาชีพเป็นพรานป่าและเป็นผู้ที่มีปัญญาอันเฉลียวฉลาด กล้าหาญ จึงแต่งตั้งให้หนานทิพย์ช้างเป็น “เจ้าทิพย์เทพบุญเรือน” เป็นหัวหน้านำไพร่พลชาวลำปางจำนวน 300 กว่าคน โอบล้อมวัดพระธาตุลำปางหลวงในเวลาเที่ยงคืน หนานทพิย์ช้างพร้อมด้วยทหารคู่ใจได้ปลอมตัวเป็นทหารพม่า พร้อมทั้งทำสาส์นปลอมขึ้น แอบลักลอบเข้ามาทางท่อระบายน้ำด้านหลังพระเจดีย์

เมื่อเข้าไปถึงเขตพุทธวาส ได้สั่งให้ทหารคู่ใจไปประจำประตูทั้ง 3 ด้าน ส่วนตนเองได้นำสาส์นปลอมไปให้ท้าวมหายศแม่ทัพพม่าซึ่งกำลังเล่นหมากรุกอยู่ที่หน้าพระเจดีย์บอกว่าชายาของท้าวมหายศที่เมืองลำพูนใช้ให้มา เมื่อยื่นสาส์นแล้วถอยได้ที่พอสมควร จึงได้ใช้ปืนทาบศิลาที่พกติดตัวไปด้วย ยิงท้าวมหายศแม่ทัพพม่าตายกลางวงหมากรุก ลูกกระสุนปืนยังทะลุไปถูกรั้วทองเหลืองของพระเจดีย์ ซึ่งมีปรากฏให้เห็นถึงปัจจุบันนี้

เมื่อได้รับชัยชนะแล้ว พระมหาเถระวัดพระแก้วชมพู พร้อมด้วยประชาราษฏรชาวนครลำปาง ได้พร้อมใจกันปราบดาภิเษกให้ “หนานทิพย์ช้าง” เป็นผู้ครองนครลำปาง มีนามว่า “เจ้าพระยาสุลวฤาชัยสงคราม” และเป็นต้นตระกูลของเจ้านายฝ่ายเหนือ ตราบจนถึงปัจจุบัน

ดูเงาพระธาตุกลับหัว

วิหารพระพุทธ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เป็นที่ประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธปางมารวิชัยขนาดใหญ่เต็มอาคาร ศิลปะเชียงแสน และมีเงาพระธาตุอันเกิดจาก แสงหักเห ทำให้ปรากฏเกิดเป็นเงาพระธาตุและวิหารด้านมุมกลับ ในซุ้มรอบพระพุทธบาทนี้  ผู้หญิงไม่รับการอนุญาติให้เข้าวิหารพระพุทธ

นอกจากนี้วัดพระธาตุลำปางหลวงยังเป็นที่ประดิษฐาน “พระแก้วดอนเต้า” (พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่ เมืองของจังหวัดลำปาง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะล้านนาสลักด้วยหยกสีเขียว

ทุกปีจะมีงานนมัสการ พระแก้วดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน 12 นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุลำปางหลวงได้ระหว่างเวลา 07.30-17.00 น.


การเดินทาง (แผนที่) วัดพระธาตุลำปางหลวง
โดยรถยนต์ วัดพระธาตุลำปางหลวงตั้งอยู่ที่ ตำบลลำปางหลวง ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวงสายลำปาง-เถิน ถึงหลักกิโลเมตรที่ 586 เลี้ยวเข้าไปจนถึงที่ว่าการอำเภอเกาะคา จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าอีก 1 กิโลเมตร
โดยรถประจำทาง หากเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสามารถใช้บริการรถสองแถวสีฟ้าที่ถนนรอบเวียงใกล้ตลาดออมสิน

หมายเหตุ วัดพระธาตุลำปางหลวง นับเป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ และยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ควรค่าแก่การเคารพ ในการท่องเที่ยววัดพระธาตุลำปางนั้น จึงจำเป็นที่นักท่องเที่ยวควรจะต้องแต่งการให้สุภาพ เช่นนักท่องเที่ยวหญิงไม่ควรใส่กระโปรงหรือกางเกงที่สั้นจนเกินไป พอเห็นสมควรในการใส่

 


 

Comments

comments

Copyright © 2024 | Tourwatthai.com