โบราณสถานสระมรกตรอยพระพุทธบาทคู่ ปราจีนบุรี Sa Morakot

ที่ตั้งโบราณสถานสระมรกต ในบริเวณวัดสระมรกต มีรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย จารึกลงบนหื้นหินศิลาแลงธรรมชาติ กลางฝ่าพระบาทแต่ละข้างสลักเป็นรูปธรรจักร ระหว่างพระบาทแกะเซาะเป็นร่องรูปกากบาทหรือสวัสดิกะ เครื่องหมายแห่งความโชคดี มีหลุมอยู่ตรงกลางสันนิษฐานว่ามีไว้สำหรับปักเสาฉัตร ขุดพบเมื่อปี พ.ศ. 2529 ปัจจุบันมีการสร้างหลังคาครอบไว้อย่างถาวร


ด้านหน้ารอยพระพุทธบาทคู่ มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีน้ำใสสะอาดตลอดทั้งปี น้ำในบ่อนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งในน้ำอภิเษก ที่ใช้ประกอบในพิธีราชาภิเษก เมื่อวันที่ 6- 9 เมษายน ที่ผ่านมา และน้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิแห่งนี้ ยังถูกนำไปประกอบในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ เสมอ

ข้อมูลที่ปรากฏไว้

สระมรกตรอยพระพุทธบาทคู่ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วยรอยพระพุทธบาทคู่สมัยทวารวดี สลักลงบนหื้นศิลาแลงธรรมชาติลักษณะเหมือนจริง เป็นรอยพระพุทธบาทคู่ที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองไทย กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓ และกลุ่มอาคารโบราณสถานศิลาแลงเนื่องในพุทธสถานในคติมหายาน มีแผนยังแบบเดียวกับอโรคยศาลาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่๗ สร้างซ้อนทับของเดิมในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ ด้านหน้าทางทิศตะวันออกปรากฏบารายขนาดใหญ่ขนาด 100X200 เมตร

Sa Morakot
Sa Morakot is an archaeological site, located in Sri Maho Sod district, Pracheenburi province. The site is composed of twin Buddha’s foot print dated to around 6th – 8th centuries A.D. This footprint seem to be the oldest footprint ever found in Thailand.

อโรคยาศาลา
ตั้งอยู่ในกลุ่มศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมร ฐานของอาคารหลังนี้สันนิษฐานว่าเป็นอโรคยศาลา คือ ศาสนสถานในโรงพยาบาล ประกอบด้วย ฐานปราสาท ฐานบรรณาลัย กำแพงล้อมรอบและมีโคปุระ (ทางเข้า) จัดอยู่ในศิลปะสมัยบายน พุทธศตวรรณที่ ๑๘ โดยได้พบหลักฐาน เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และนางปรัชญาปารมิตา เครื่องประกอบคานหามที่จัดอยู่ในสมัยบายน และได้พบจารึกบนคันฉ่องสำริดที่กล่าวถึงชื่อเมือง คือ อวัธยปุระและระบุศักราชตรงกับ พ.ศ. ๑๗๓๐

Arogaya-Sala
Arogaya-Sala is archaeological believed that it is an ancient hospital buliding placed close to a Mahayana Buddhism temple. The temple is mostly composed of a main tower, a library building surrounded with an enclosing laterite wall with main Gopura (gate) on the East. Only foundation of Main Tower, library and some part of Gopura is left over.

The monument was typically built by King Chayawaraman 7th around13th century A.D. in Bayon Art Style. Pieces of Avalogitesavara Boddhisatavara, Prajaya Baramita Goddess, bronze mirror with an inscription and bronze carrying pole were found from excavation. These items are iconography dated to 13th century A.D. The bronze inscription is also mentioned Awataya Pura town of A.D. 1187

ความเชื่อเรื่องรอยพระพุทธบาท

รอยพระพุทธบาทเป็นปูชนียวัตถุสถานที่สำคัญ แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พุทธศาสนิกชนสักการะบูชา มาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจวบจนปัจจุบัน ตามคติความเชื่อเรื่องเจติยสถาน แบ่งรอยพระพุทธบาทออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1.รอยพระพุทธบาทที่เป็น “บริโภคเจดีย์” เชื่อกันว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับไว้ให้เป็นที่สักการะบูชา ตามความเชื่อสมัยหลังในลังกาทวีป ระบุว่ามีอยู่ 5 แห่ง คือที่เขาสุวรรณมาลิก เขาสุวรรณบรรณพต เขาสุมนะกูฏ เมืองโยนกบุรี และริมฝั่งแม่น้ำนัมทานที

2.รอยพระพุทธบาทที่เป็น “บริโภคเจดีย์สมมติ” เป็นรอยพระพุทธที่จำลองขึ้นจากรอยพระพุทธบาทที่เป็นบริโภคเจดีย์

3.รอยพระพุทธบาทที่เป็น “อุทเทสิกะเจดีย์” เป็นรอยพระพุทธบาทที่สร้างขึ้นแทนองค์พระพุทธเจ้า หรือระลึกถึงพระพุทธองค์

การเดินทางไปโบราณสถานสระมรกต


จากถนนพหลโยธิน ทางหลวงหมายเลข 1 เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 305 (เส้นรังสิต-องครักษ์-นครนายก) เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 33 (ไปทางอำเภอปากพลี) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 319 (ปราจีนบุรี -ศรีมโหสถ) ผ่านโรงเรียนวัดสระข่อย ไปจนถึงสี่แยกให้เลี้ยวซ้ายจะถึงโบราณสถานสระมรกต

Comments

comments