วัดคุ้งตำหนัก (ตำหนักพระเจ้าเสือ) ต.บางตะบูน อ.บ้านแหลม เพชรบุรี
Wat Khung Tamnak , Bang Tabun Subdistrict, Ban Laem District, Phetchaburi

“วัดริมแม่น้ำบรรยากาศดี สถานที่เคยเป็นตำหนักพระเจ้าเสือ สถาปัตยกรรมแบบมอญ”


ที่ตั้งวัดคุ้งตำหนัก
เลขที่ หมู่ 7 ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ประวัติวัดคุ้งตำหนัก
วัดคุ้มตำหนัก ที่มีชื่อเกี่ยวกับวังน้ำวนจนหลายคนร่ำลือกัน ว่าเป็นถิ่นฐานของจระเข้ชุกชุม เล่ากันว่าในสมัยอยุธยาตอนปลาย บริเวณนี้เคยมีพลับพลาหรือตำหนักพระเจ้าเสือ ซึ่งพระองค์เสด็จฯ มาประทับทรงเบ็ด เล่ากันอีกต่อไปว่าบริเวณดังกล่าวมีปลาชุกชุมมาก

ดังบันทึกของท่านสุนทรภู่เมื่อครั้งนั่งเรือผ่านบางตะบูนได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า

“ถึงที่วังตั้งประทับ รับเสด็จ มาทรงเบ็ดปลากระโห้ ไม่สังหาร
ให้ปล่อยไปในทะเล เอาเพดาน แต่โบราณเรียกว่าองค์ พระทรงปลา
แต่เดี๋ยวนี้ที่วัง ก็รั้งร้าง เป็นรอยทางทุบปราบ ราบรุกขา
ยังแลเลี่ยนเตียนดี ที่พลับพลา นึกระอาอนิจจัง ไม่ยั่งยืน
เดิมเป็นป่ามาเป็นวัง ตั้งประทับ แล้วก็กลับไปเป็นป่า ไม่ฝ่าฝืน
เหมือนมียศลดลง ไม่คงคืน นึกสะอื้นอายใจ มาในเรือ”

บริเวณโดยรอบวัดคุ้งตำหนัก ประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่เป็นชาวไทยเชื­้อสายมอญนับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพปลูกป่าโกงกาง เผาถ่าน รับจ้างทั่วไป และบางส่วนประกอบอาชีพด้านประมงและสัตว์น้­ำ

เกร็ดความรู้เรื่อง ชาวมอญในเพชรบุรี ชาวมอญในจังหวัดเพชรบุรี ตั้งบ้านเรือนอยู่ 2 แห่ง คือ บ้านบางลำภู (หมู่ 3) ตำบลบางครก และบ้านคุ้งตำหนัก(หมู่ 7) ตำบลบางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี ชาวมอญในจังหวัดเพชรบุรีอพยพมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตรงกับแผ่นดินของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีจำนวนประมาณ 40,000 คน


ภาพบรรยากาศของวัดคุ้งตำหนัก


การเดินทางไปวัดคุ้งตำหนัก เพชรบุรี

Comments

comments