วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร(วัดโพธิ์) กรุงเทพมหานคร
พระอารามหลวงชั้นเอก วัดประจำรัชกาลที่ 1
Wat Phra Chetuphon Wimon Mangklaram Raja Woramahawihan
(Wat Pho) Reclining Buddha
“สักการะบูชาพระพุทธไสยาสน์ พระพุทธเทวปฏิมากร, วัดลูกผสมวัฒนธรรมไทยจีน ศูนย์รวมภูมิปัญญาพื้นบ้านความรู้ด้านการแพทย์โบราณและตำราและเป็นวัดที่ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยสำหรับประชาชนแห่งแรกของไทย”

ที่ตั้งวัดโพธิ์
เลขที่ 2 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
เว็บไซต์ : http://www.watpho.com/
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00 – 18.30 น.
ชาวต่างชาติจะต้องซื้อบัตรเข้าชมคนละ 200 บาท
สำหรับนักท่องเที่ยวต้องแต่งกายสุภาพ สุภาพสตรีห้ามสวมกางเกงขาสั้นเหนือเข่าเข้าเยี่ยมชม

ประวัติวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตามประวัติสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เดิมเรียกว่า “วัดโพธาราม” หรือ “วัดโพธิ์” ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ในปี พ.ศ. 2331

เป็นวัดที่เป็นศูนย์รวม ของความรู้ด้านการแพทย์โบราณ อีกทั้ง ยังมากด้วยตำรา, สถาปัตยกรรม, ประติมากรรม วรรณคดี ,ตำรายา ที่ถือได้ว่า มีประโยชน์มากมาย สำหรับชนรุ่นหลัง


โรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) 
พระอุโบสถ
พระพุทธเทวปฏิมากร

ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ นามว่า พระพุทธเทวปฏิมากร ที่ฐานชุกชีก่อไว้ 3 ชั้น ชั้นที่ 1 บรรจุพระบรมอัฐิและพระราชสรีรังคารรัชกาลที่ 1 ไว้ ชั้นที่ 2 ประดิษฐานรูปพระอัครสาวกทั้งสององค์ฐานชุกชี ชั้นล่างสุดประดิษฐาน พระมหาสาวก 8 องค์ (พระอรหันต์ 8 ทิศ)

วิหารพระนอน พระวิหารพระพุทธไสยาสน์


พระพุทธไสยาสน์ หรือที่เรียกกันว่า พระนอนวัดโพธิ์ ประดิษฐานในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ภายในเขตพุทธาวาส บริเวณมุมกำแพงทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ขนาดองค์พระยาว 46 เมตร สูงจากพื้นถึงยอดพระเกตุมาลา 15 เมตร เฉพาะพระพักตร์จากไรพระศก (ไรผม) ถึงพระหนุ (คาง) ยาว 5 เมตร กว้าง 2.50 เมตร พระพุทธบาท ยาว 5 เมตร สูง 3 เมตร จัดว่าเป็นพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ เมื่อสักการะพระนอนกันแล้วก็สามารถเดินมาชมมงคล ๑๐๘ ประการที่ฝ่าพระบาทพระพุทธไสยาสน์กันได้อีกด้วย


ภาพบรรยากาศวัดโพธิ์


การเดินทางไปวัดโพธิ์

การเดินทางมีรถประจำทางผ่าน

1. รถประจำทางธรรมดา สาย ๑ – ๓ – ๖ – ๙ – ๑๒ – ๒๕ – ๓๒ – ๔๓ – ๔๔ – ๔๗ – ๔๘ – ๕๑ – ๕๓ – ๘๒ – ๑๐๓ 2. รถประจำทางปรับอากาศ ปอ.๑ – ปอ.๖ – ปอ.๗ – ปอ.๘ – ปอ.๑๒ – ปอ.๔๔ 3. เดินทางโดยเรือด่วนเจ้าพระยา สามารถขึ้นฝั่งที่ท่าเรือท่าช้าง, ท่าเรือท่าเตียน, ท่าเรือปากคลองตลาด แล้วเดินเข้าประตูทางถนนท้ายวังได้ 4. เดินทางมาลงสถานี MRT สนามไชย (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) ทางออกประตูที่ 1 (ทางออกมิวเซียมสยาม) เดินเลียบไปตามทางรถจะพบวัดโพธิ์อยู่ทางด้านซ้าย

Comments

comments