วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระอารามหลวง ชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร ๑ ใน ๖ วัดของไทย 

Wat Suthat Thepwararam Ratchaworamahawiharn, Bangkok

สักการะบูชาพระพุทธศรีศากยมุนี พระพุทธตรีโลกเชฎฐ์ และพระพุทธเสรฏฐมุนี, วัดประจำรัชกาลที่ ๘ “

ที่ตั้งวัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
เลขที่ 146 ริมถนนตีทอง1 ถนนบำรุงเมือง หน้าวัดออกทางถนนอุณากรรณ
แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
พระอารามหลวง ชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร 1 ใน 6 ของไทย

ประวัติวัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น วัดกลางพระนคร และสร้างพระวิหารสูงใหญ่เทียบเท่าวัดพนัญเชิงของกรุงศรีอยุธยา จากนั้นทรงอัญเชิญพระพุทธรูปโลหะปางมารวิชัย ซึ่งหล่อขึ้นตั้งแต่สมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ที่เรียกกันว่ พระโต หรือ พระใหญ่ จากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย มาประดิษฐานไว้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างพระวิหารต่อจนเสร็จ พร้อมกับสร้างพระอุโบสถและหล่อพระประธานขึ้นใหม่ พระราชทานนามวัดเป็น วัดสุทัศนเทพวราราม จากเดิมที่เรียกกันว่า วัดพระโต จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงถวายพระนาม พระโต ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหารว่า พระพุทธศรีศากยมุนี และพระประธานในพระอุโบสถว่า “พระพุทธตรีโลกเชฎฐ์”

King Rama1 Founded the temple at the central area of the city at thai time, and built the sizable Wiharn as the Wiharn of Wat Phanan Choeng in Ayutthayo. The the Sukhothai style bronze Buddha image, brought from Wat MahaTahi in Sukhothai, was installed inside the Wiharn. The image was called Phra Toh or Phra Yai means big buddha image The Wiharn (Main Hall) was completed in the reign of king Rama3. Then the Ubosot (ordination hall) was built along with the principal Buddha image; The temple was then named Wat Suthat Thepwararam. Later, King Rama IV named The principal image inside he Wiharn Phra Phuttha Srisakkayamuni and The principal image inside the Ubosot Phra Phuttha Trilokachet.

วัดพระจำรัชกาลที่ 8 มีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประดิษฐานที่ลานประทักษิฯ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือพระวิหารหลวง

“พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานในพระอุโบสถ”

พระอุโบสถของวัดสุทัศน์ จัดว่าเป็นพระอุโบสถที่ยาวที่สุดในประเทศไทย พระประธานภายในพระอุโบสถ คือ พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทั้งพระอุโบสถและพระประธานนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ผนังด้านในของพระอุโบสถมีภาพจิตกรรมฝาผนังฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มยอดเจดีย์ มีลักษณะแปลกตาและงดงามมาก รอบ ๆ พระอุโบสถ มีซุ้มเสมา 8 ซุ้ม ตั้งอยู่บนกำแพงแก้ว เป็นใบเสมาคู่ซึ่งทำจากหินอ่อนสีเทา สลักเป็นภาพช้าง 3 เศียร งวงชูดอกบัวตูมเศียรละ 1 ดอก เบื้องบนมีดอกบัวบาน 3 ดอก บนกำแพงแก้วด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีเกยอยู่ด้านละ 4 เกย ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับประทับโปรยทานแก่ประชาชนในงานพระราชพิธี เรียกว่า “เกยโปรยทาน”

พระอุโบสถ

พระอุโบสถที่ทางวัดบอกว่าโบสถ์ยาวใหญ่กว่านี้ในประเทศนี้ไม่มีอีกแล้ว มีความกว้าง 22.60 เมตร ยาว 72.25 เมตร สร้างปี 2377 แล้วเสร็จปี 2386 ในรัชกาลที่ 3 หน้าบันอุโบสถด้านทิศตะวันออกเป็นไม้แกะสลักลวดลายรูปพระอาทิตย์ทรงราชรถเทียมราชสีห์ ด้านตะวันตกเป็นรูปพระจันทร์ทรงราชรถเทียมม้า บานประตูพระอุโบสถเป็นลายรดน้ำและรูปวิมานเมืองสุทัสสนนคร เมืองของพระอินทร์ พระประธานในอุโบสถมีนามว่า พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 หน้าตักกว้าง 10 ศอก 8 นิ้ว ปางมารวิชัย ด้านหน้าพระประธานมีรูปหล่อพระอรหันตสาวก 80 องค์ ที่รัชกาลที่ 4 ทรงให้สร้างด้วยปูนปั้นลงสี เพื่อแทนพระศรีศาสดาที่ให้อัญเชิญไปเป็นพระประธานพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

พระวิหารหลวง

“พระพุทธศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง”

พระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม ถือเป็นวิหารที่มีขนาดใหญ่อย่างมาก มีความกว้าง 23.84 เมตร ยาว 26.25 เมตร ดังที่กล่าวไว้ในประวัติการสร้างวัด ว่าเริ่มวางรากฐานในสมัยรัชกาลที่ 1 แต่สร้างไว้เฉพาะส่วนฐานอาคาร สร้างต่อในสมัยรัชกาลต่อมา และมาแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงกล่าวได้ว่า พระวิหารหลวงแห่งนี้เป็นฝีมือช่างระหว่างรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงงานช่างใน 2 รัชกาลนั้น คือ ลักษณะอาคารแบบประเพณีนิยม ได้แก่ การทำหลังคาตามแบบที่เคยมีมาแต่เดิม คือ หลังคาซ้อนชั้น เครื่องลำยองประกอบด้วย ป้านลมเป็นนาคลำยอง หรือนาคสะดุ้ง มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หน้าบันวิหารเป็นไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกสี กรอบลายกนกเครือวัลย์ออกช่อเทพพนม กลางกรอบเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ถือว่าเป็นสัญลักษณ์กรุงเทพมหานคร เทพคือพระอินทร์ อาจหมายถึงพระมหากษัตริย์ซึ่งเปรียบเสมือนสมมติเทพ หน้าบันของมุขวิหารเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ หมายถึงพระมหากษัตริย์แบ่งภาคจากเทพเพื่อคุ้มครองมนุษย์โลก

สัตตมหาสถาน เป็นสถานที่สำคัญที่พระพุทธเจ้าประทัยหลังจากตรัสรู้แล้ว “สัตตมหาสถาน” ถือเป็นปูชนียสถานสำคัญของวัด อันประกอบด้วย

  1. พระรัตนบัลลังก์ (บัลลังก์ใต้ต้นโพธิ์ที่ตรัสรู้)
  2. พระอนิมสเจดีย์ (ที่ประทับรูปเก๋งจีนสำหรับดูพระมหาโพธิ์โดยมิได้กระพริบพระเนตร)
  3. พระรัตนฆรเจดีย์ (เรือนแก้ว ซึ่งปัจจุบันได้ปรักหักพังไปเกือบหมด)
  4. พระอัชปาลนิโครธ (ต้นไทร)
  5. พระมุจลินทพฤกษ์ (ต้นจิก)
  6. พระราชายตนพฤกษ์ (ต้นเกด) Racha-Yatana สร้างขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ – สถานที่นี้มีความสำคัญคือ สัปดาห์ที่ 7 หลังการตรัสรู้พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ภายใต้ต้นเกด (ต้นราชายตนะป พ่อค้า 2 พี่น้อง ชื่อ ตปุสสะกับภัลลิกะ นำข้าวสัตตุก้อน สตตุผงมาถวายและประกาศตนเป็นผู้ถึงพระรัตน 2 ประการ (พระพุทธ พระธรรม) เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร มีเรื่องเล่าขานกันถึงเปรต สัตว์ที่เกิดในอบายภูมิตามความเชื่อของพุทธศาสนาและชาวไทย ว่ามีเปรตเคยปรากฏอยู่ที่นี่ โดยเรื่องนี้อาจมีที่มาจากภายในพระวิหารมีภาพวาดบนเสาด้านข้างขององค์พระศรีศากยมุนี เป็นภาพจิตรกรรมที่วาดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรูปหนึ่งเป็นรูปเปรตตนหนึ่งนอนพาดกายอยู่และมีพระสงฆ์กำลังยืนพิจารณาสังขาร ซึ่งภาพนี้มีชื่อเสียงมากในสมัยอดีต เป็นที่ร่ำลือกันว่าหากใครได้มีโอกาสไปกราบไหว้พระศรีศากยมุนีในพระวิหารหลวง ต้องไปดูรูปจิตรกรรม “เปรตวัดสุทัศน์” ที่ขึ้นชื่อนี้ จนมีคำกล่าวคล้องจองกันว่า “แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์” เป็นความเชื่อแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์เกี่ยวกับเรื่องราวของเปรตแห่งวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ที่เล่ากันว่าที่วัดแห่งนี้มักมีเปรตปรากฏกายในเวลากลางคืนเป็นที่น่ากลัวอย่างยิ่ง ประกอบกับอหิวาตกโรคที่ระบาดจนมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 จนเผาศพแทบไม่ทัน ณ วัดสระเกศ จนมีคำกล่าวคล้องจองกันว่า “เปรตวัดสุทัศน์ แร้งวัดสระเกศ”

พระพุทธไสยาสน์


ภาพบรรยากาศวัดสุทัศนเทพวราราม

พระพุทธรูปในวิหารคต


การเดินทางไปวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

 

Comments

comments