วัดสุวรรณดาราราม ราชวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา
พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
Wat Suwandararam Ratchaworawihan, Phra Nakhon Si Ayutthaya
"วัดประจำราชวงศ์จักรี พระอุโบสถสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ชมภาพจิตกรรมฝาผนังรูปยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"
ที่ตั้งวัดสุวรรณดาราราม
เลขที่ 1/6 ซอยอู่ทอง 4 ริมป้อมเพชร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประวัติวัดสุวรรณดาราราม
วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมป้อมเพชร พระนครศรีอยุธยา พระอัยกาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ให้ชื่อว่า วัดทอง เป็นวัดของฝ่ายวังหน้า
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็โปรดเกล้าให้บูรณะวัดนี้ทั้งหมด จึงถือว่า วัดนี้เป็นวัดประจำราชวงศ์จักรี ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ จึงโปรดเกล้าให้สถาปนาวัดทองขึ้นมาใหม่และพระราชนามว่า "วัดสุวรรณดาราราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระบรมชนกนาถและพระบรมราชชนนี ตามพระนามเดิมของทั้งสองพระองค์คือ "ทองดี" และ "ดาวเรือง"
ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัด ตัวโบสถ์จะตกท้องช้าง ทำให้คล้ายท้องเรือสำเภา ซึ่งเป็นการเปรียบพระพุทธศาสนาดั่งนาวาธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของโบสถ์สมัยอยุธยา

ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระประธานซึ่งจำลองขยายส่วนจากพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระแก้วมรกต (พระแก้วมรกต) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม รูปทรงงดงาม ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัยขัดสมาธิราบเหนือพระรัตนบัลลังก์ ประดับกระจกสีด้านซ้ายและขวาเป็นที่ประดิษฐานนพดลมหาเศวตรฉัตร เพดานพระอุโบสถเป็นไม้จำหลักลายดวงดาราบนพื้นสีแดง ลงรักปิดทองประดับกระจก ตรงกลางเป็นดาวประธาน ล้อมรอบด้วยดาวบริวาร 12 ดวง ภายในกรอบย่อมุมไม้สิบสอง
ภายในวัดมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพเขียนสีน้ำมันฝีมือของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตร เป็นรูปยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ต้นฉบับที่เคยเห็นกันในหนังสือเรียน วาดโดยพระยาอนุศาสน์จิตรกร จิตรกรเอกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ด้านบนของผนังภายในพระอุโบสถรายล้อมไปด้วยภาพเทพพนมนับร้อยองค์ลอยอยู่ในวิมาน ที่มีขนาดลดหลั่นกันตามระยะใกล้-ไกล ตามลักษณะของทัศนียภาพแบบตะวันตก ที่เคยมีการวาดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ส่วนด้านล่างของผนังเป็นภาพเรื่องราวของมหาเวสสันดรชาดกและสุวรรณสามชาดก
ชมภาพบรรยากาศวัดสุวรรณดาราราม ราชวรวิหาร

การเดินทางมาวัดสุวรรณดาราราม

พระเจดีย์

พระอุโบสถ
