วัดขรัวช่วย (หลวงพ่อช่วย) ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

Wat Khrua Chuay (Luang Por Chuay), Sao Phao Sub-district, Sichon District, Nakhon Si Thammarat

“สักการะบูชาพระใหญ่ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่วัด”

ที่ตั้งวัดขรัวช่วย
เลขที่ ถนน 401 ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 80340
พิกัด 8.90483, 99.90016

ประวัติวัดขรัวช่วย
วัดขรัวช่วยเป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลวงพ่อช่วง วัดช่วยเป็นพระเกจิที่คนนครศรีธรรมราชและคนภาคใต้เคารพบูชามาก ความศักดิ์ของท่านเป็นที่เล่าขานมานมนาน ท่านมีวาจาสิทธิ์(ที่ได้ยินบ่อยเล่ากันปากต่อปากบางคนอาจได้ยินได้ฟังผิดเพี้ยนไป) ท่านไปบิณฑบาตรมีคนไล่ฟันท่านแต่ฟันไม่ได้ ท่านกลัวชาวบ้านจะไปทำร้ายคนที่ไล่ฟันท่าน ท่านเลยห้ามว่าอย่าไปบอกใครคนๆ นั้นไม่เชื่อฟังท่านเลยพูดไม่ได้ไปชั่วคราว

ตามประวัติเดิมที่เล่าต่อกันมาของวัดขรัวช่วย บริเวณก่อตั้งวัดเป็นป่าเบญจพรรณรกร้างเต็มไปด้วยต้นไม้นานาชนิด และเป็นที่เลี้ยงควายของคุณยายนกวีด ซึ่งทุกวันคุณยายจะนำควายมาเลี้ยง และนั่งทานอาหารมื้อเที่ยงใต้ต้นไทรใหญ่ จนวันหนึ่งคุณยายได้ใช้มีดพร้าแซะถางพื้นที่ก็พบวัสดุคล้ายปูนซีเมนต์ จึงบนให้ชาวบ้านมาช่วยกันแซะกวาดตัดรากไทรออก ก็ปรากฏเป็นองค์พระพุทธรูปขนาดใหญ่ ซึ่งไม่มีเศียร ชาวบ้านจึงร่วมกันขุดถางหาเศียรพระก็พบอยู่ในบริเวณนั้น และด้วยแรงศรัทธาจึงได้ทำการบูรณะพระพุทธรูปนั้นให้สวยดังเดิม เพื่อนำไปเป็นที่สักการะของชาวบ้านสืบต่อไป แต่ด้วยช่างที่หามาต่อเศียรพระในท้องถิ่นนั้นไม่มีความรู้ในเรื่องการปั้นทำให้เศียรพระพุทธรูปคอเอียงบ้างโยกบ้าง ต่อมามีนายควาญช้างคนหนึ่งเข้ามาเห็นว่าชาวบ้านพยายามต่อเศียรพระอยู่ จึงได้ตกปากรับคำว่าจะลองช่วยดู ซึ่งควาญช้างก็นั่งปั้นอยู่บนคอช้างชาวบ้านก็ช่วยกันพยุงเศียรพระขึ้นไป จนเมื่อควาญช้างโบกปูนซ่อมแซมเสร็จก็สวยงามไม่มีตำหนิเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านต่างมุงดูวิจารณ์กันไปต่าง ๆ นาน ๆ จนกระทั่งเมื่อรู้สึกตัวอีกครั้งก็มองหาตัวนายควาญช้างกับช้างไม่เจอเสียแล้ว จึงเป็นที่เล่าสืบต่อกันมาว่า “เทวดามาต่อเศียรพระให้

ซึ่งพระพุทธรูปองค์นั้นมีขนาดใหญ่จึงเรียกกันมาว่าพระใหญ่ ชาวบ้านผงบนบานศาลกล่าวประสบความสำเร็จมานักต่อนัก เป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์อภินิหาร เป็นพะรพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวบ้านท้องถิ่นนี้มาอย่างยาวนาน

โดยตำนานหลังจากนั้น ชาวบ้านได้เล่าต่อๆกันมาว่า ได้มีพระภิษุรูปหนึ่งชื่อช่วยได้เดินธุดงค์มาปักกลดในบริเวณพระพุทธรูปนั้นจึงนิมนต์ให้ท่านจำวัดอยู่ที่แห่งนี้และตั้งชื่อวัดว่า วัดขรัวช่วย แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด โดยข้อสังเกตุการใช้คำว่าขรัว ซึ่งจะใช้กับพระอาวุโส พระคงแก่เรียน และพระสงฆ์ที่เป็นระดับอาจารย์สอนคน โดยชื่อ คำว่า “ขรัวช่วย” ก็ยังมีอีกหลายความเชื่อ

การเดินทางไปวัดขรัวช่วย อำเภอสิชล นครศรีธรรมราช

เครดิตภาพและเรื่องโดย Thikumporn Tu Tantivimongkol

Comments

comments