วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) ตำบลน้ำซึม อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
Wat Chantharam (Wat Tha Sung), Nam Suem Subdistrict, Mueang District Uthai Thani.
“ชมวิหารแก้วตระการตา สักการะบูชาพระพุทธชินราช สมเด็จองค์ปฐม  อลังการปราสาททอง ล่องเรือชมแม่น้ำ ให้อาหารปลาวังมัจฉา กราบสักการะสังขารหลวงพ่อฤาษีลิงดำในวิหารแก้ว น้อมนำคำสอนหลวงพ่อในการปฏิบัติธรรม”

ที่ตั้งวัดจันทาราม (วัดท่าซุง)
เลขที่ หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำซึม อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
เบอร์โทรติดต่อ 0 5650 2506, 0 5650 2655
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
เวลาทำการ เปิดทุกวัน

มหาวิหารแก้ว 100 เมตร เปิด 9:00 – 11: 45 น. และ 14:00 – 16:00 น.
พระวิหารสมเด็จองค์ปฐม เปิด 09.00 – 10.30 น. และ 13.00 – 16.00 น.
ปราสาททองคำ เปิด 08.00 – 16.00 น.
เจ้าอาวาส พระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน

ประวัติวัดจันทาราม (วัดท่าซุง)
วัดท่าซุง หรือ วัดจันทาราม ตั้งชื่อตามอดีตเจ้าอาวาสชื่อจันท์ (ในสมัยพระนารายณ์มหาราช นายทหารชื่อจันท์ กลับจากศึกเชียงใหม่ มาตามหาภรรยาไม่พบเลยมาบวชที่วัด ต่อมาเป็นสมภาร เปลี่ยนชื่อวัดมาเป็น วัดจันทาราม ตามชื่อท่านสมภาร หรืออีกชื่อหนึ่งที่บุคคลทั่วไปนิยม เรียกว่า วัดท่าซุง เพราะในอดีตจังหวัดอุทัยธานี มีป่าไม้มาก จึงมีการขนส่งท่อนซุง มาลงท่าน้ำซึ่งมีแม่น้ำสะแกกรังไหลผ่านบริเวณวัดท่าซุง เพื่อผูกเป็นแพล่องไปตามแม่น้ำ

ในปี พ.ศ. 2332 หลวงพ่อใหญ่ (องค์ที่สอง) ท่านได้ธุดงค์มา ปักกลดชาวบ้านท่าซุงมีความเลื่อมใสศรัทธามาก ได้นิมนต์ท่านอยู่ประจำ ที่วัดท่าซุงนี้ ท่านก็รับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาส ที่วัดนี้มีท่าน เพียงองค์เดียว ในตอนแรกสร้างเสนนาสนะเจริญรุ่งเรือง ในสมัยของท่านและหลวงพ่อท่านเจ้าคุณ พระราชพรหมยาน ท่านได้บอกอีกว่า หลวงพ่อใหญ่ท่านบรรลุพระอรหันต์ที่วัดนี้อีกด้วย กล่าวคือ เมื่อมีชีวิตอยู่ท่านเป็นอนาคามี ก่อนจะมรณภาพท่าน ก็เป็นพระอรหันต์ หลวงพ่อเส็ง (หลวงพ่อขนมจีน) ท่านเป็นผู้ช่วยหลวงพ่อใหญ่บูรณะวัดในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์และเป็นเจ้าอาวาสต่อจาก หลวงพ่อใหญ่ท่านเป็น พระอรหันต์รูปที่ 2 ต่อจากหลวงพ่อใหญ่ วัดเจริญต่อมาวัดจันทาราม (วัดท่าซุง) ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2471 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2482 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร

จนถึงสมัยของหลวงพ่อเล่งและหลวงพ่อไล้ ท่านเป็นพี่น้องกัน ท่านเป็นพระทรงฌานทั้งสองรูป เมื่อจะมรณภาพทุกขเวทนามาก ท่านก็เห็นทุกข์ของการเกิดเป็นทุกข์เพราะร่างกาย เห็นคุณของคำสอนของ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านก็เป็น พระอรหันต์ก่อนมรณภาพทั้งสองรูป ต่อจากนั้นก็ถึงยุคภิกขุพานิช วัดไม่ได้บูรณะมา 47 ปี จนกระทั่ง ถึงปี พ.ศ. 2511 หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร) ได้มาริเริ่มบูรณะวัดอีกครั้ง

วัดท่าซุง จริงแล้วเป็นวัดเก่าแก่ ที่สร้างตั้งแต่สมัยโดย หลวงพ่อใหญ่องค์แรก เป็นผู้สร้างวัดแต่วัดเริ่ม พัฒนาและเป็นที่รู้จักเมื่อพระราชมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียง ได้สร้างอาคารต่าง ๆ มากมาย เช่น พระอุโบสถใหม่ภายใน ประดับและตกแต่งอย่างวิจิตร บานหน้าต่างและประตูด้านในเขียนภาพเทวดา โดยจิตรกรฝีมือดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมา ตัดลูกนิมิตพระอุโบสถแห่งนี้ บริเวณโดยรอบสร้างกำแพงแก้ว และมีรูปหล่อหลวงพ่อปาน และหลวงพ่อใหญ่ขนาด 3 เท่า อยู่มุมกำแพงด้านหน้ามณฑป และ พระวิหารแก้วที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราชจำลอง และร่างของหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ไม่เน่าเปื่อย

สรีระสังขารหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
พระพุทธินราช พระประธานในวิหารแก้ว

มหาวิหารแก้ว 100 เมตร” ที่ภายในประดับด้วยโมเสกสีขาวและกระจกวิบวับไปทั้งหลัง ด้านหนึ่งประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลองเป็นพระประธานและพระอรหันต์อีก 7 องค์ ส่วนอีกด้านเป็นบุษบกตั้งสังขารที่ไม่เน่าไม่เปื่อยของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ด้านบนเพดานของวิหารประดับด้วยช่อไฟระย้าทั้งขนาดเล็กและใหญ่รวมกว่า 119 ช่อ และด้วยลักษณะของโมเสกสีขาวและกระจกที่ใช้ประดับทั่วทั้งวิหารทำให้ภาพที่ เห็นตรงหน้าเป็นภาพสะท้อนไปมาเหมือนไม่มีจุดสิ้นสุดอย่างไรอย่างนั้น ทันทีที่เราก้าวเท้าเข้าไปภายในวิหารแก้วเราก็สัมผัสได้ถึงความงดงามอลังการ ของการตกแต่งที่ตระการตามากๆ อีกทั้งบรรยากาศที่เงียบสงบและเย็นสบายของวิหารแห่งนี้ก็ทำให้จิตเราสงบขึ้น อย่างบอกไม่ถูก หลังจากชื่นชมความงดงามของวิหารแก้วจนจุใจแล้ว

ปราสาททองคำ
ปราสาททองคำ
ภายในปราสาททองคำ

ชม “ปราสาททองคำ” อาคารขนาดใหญ่ที่มีความวิจิตรงดงามประณีตมากๆ ส่วนต่างๆ ของปราสาทตกแต่งด้วยทองคำเปลว ติดกระจก ซึ่งปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ในวาระที่ทรงเสวยราชย์เป็นปีที่ 50 พื้นที่ภายในปราสาทจะใช้เป็นสถานที่เป็นพระพุทธรูปที่ญาติโยมนำมาถวายวัด แต่ในปัจจุบันบริเวณภายในยังคงเป็นพื้นที่โล่งกว้าง ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้อย่างใกล้ชิดเช่นกัน

 

ภาพบรรยากาศวัดท่าซุง หรือวัดจันทราราม

การเดินทางไปวัดจันทราราม (วัดท่าซุง)

โดยรถส่วนตัว จากกรุงเทพเข้าสู่ป้ายต้อนรับจังหวัดอุทัยธานี วิ่งตรงตามถนนเข้าเมืองมาจนสุดทาง ก็จะเจอสามแยกมีป้ายแหล่งท่องเที่ยวที่ชี้บอกทางไปวัดท่าซุงเอาไว้ให้ เลี้ยวซ้ายเข้ามาตามทางหลวงสาย 3265 ถึงแยกไฟแดง ถัดมาก็เลี้ยว ขวาตามป้ายอำเภอมโนรมย์ขับตามป้าย บอกทางไปวัดท่าซุงซึ่งจะมีบอกอยู่เป็นระยะ

พิกัด 15.328269,100.072789

Comments

comments