วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร
Wat Trai Mit Witthayaram Worawihan, Talad Noi Sub-district, Samphanthawong District, Bangkok
“สักการะบูชาพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร หรือ หลวงพ่อทองคำ) และพระพุทธทศพลญาณ พระประธานในพระอุโบสถ

“พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร” หรือ “หลวงพ่อทองคำ”

ที่ตั้งวัดไตรมิตรวิทยาราม
เลขที่ 661 ถนนเจริญกรุง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10110
พุทธสุภาษิตประจำวัด
อติโรจติ ปญฺญาย สมฺสมาสมฺพุทธสาวโก แปลว่า สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเจริญรุ่งเรืองด้วยปัญญา”

ประวัติวัดไตรมิตรวิทยาราม
วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นวัดโบราณสร้างเมื่อสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน เดิมมีชื่อว่า วัดสามจีนใต้ มีคำเล่ากันว่าวัดสามจีน เดิมมีอยู่สามวัด คือ วัดสามจีนอยู่ในคลองบางอ้อด้านตรงข้ามกับเทเวศร์วัดหนึ่ง วัดสามจีนเหนือ บางท่านก็ว่าอยู่ที่บางขุนพรหม บางที่ก็ว่าอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี สำหรับวัดที่อยู่บางขุนพรหม คือ วัดสังเวชวิศยาราม ส่วนที่อยู่จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ วัดโชติการาม อำเภอเมืองนนทบุรี และวัดสามจีนใต้ ได้แก่ วัดไตรมิตรวิทยาราม เหตุที่เรียกว่าวัดสามจีน ก็เนื่องด้วยเหตุว่ามีชาวจีน ๓ คนได้ช่วยกันก่อสร้างขึ้นมาจึงได้นามว่า “วัดสามจีน”

วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นวัดโบราณสร้างเมื่อสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน เดิมมีชื่อว่า วัดสามจีนใต้ มีคำเล่ากันว่าวัดสามจีน เดิมมีอยู่สามวัด คือ วัดสามจีนอยู่ในคลองบางอ้อด้านตรงข้ามกับเทเวศร์วัดหนึ่ง วัดสามจีนเหนือ บางท่านก็ว่าอยู่ที่บางขุนพรหม บางที่ก็ว่าอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี สำหรับวัดที่อยู่บางขุนพรหม คือ วัดสังเวชวิศยาราม ส่วนที่อยู่จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ วัดโชติการาม อำเภอเมืองนนทบุรี และวัดสามจีนใต้ ได้แก่ วัดไตรมิตรวิทยาราม

ในปี พ.ศ.2482ได้เปลี่ยนนามวัดสามจีนใต้มาเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม ทั้งนี้ เพื่อจะเฉลิมเกียรติคุณของท่านผู้แรกสร้างให้ยั่งยืนวัฒนายิ่งขึ้น และเป็นการเชิตชูอุตสาหะวิริยะของท่านผู้สร้างและคณะกรรรมการปรับปรุงวัด พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระวันรัต ( เฮง เขมจารีมหาเถร) วัดมหาธาตุ ฯ ได้เมตตาคิดค้นนามที่เป็นมงคลมาเฉลิมเพิ่มความสง่าให้แก่วัดสามจีนใต้ โดยเปลี่ยนเป็น “วัดไตรมิตรวิทยาราม” และกรมสามัญศึกษาได้เปลี่ยนนามโรงเรียนมัธยมวัดสามจีนใต้เป็น “ โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย” ตามนามวัดที่ได้เปลี่ยนใหม่ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482

พระพุทธทศทลญาณ พระประธานในพระอุโบสถ

พระพุทธทศพลญาณ พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปูนปั้น ลงรักปิดทอง ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “หลวงพ่อโต” บ้าง “หลวงพ่อวัดสามจีน” มีประชาชนมาบนบานกันเสมอ ๆ ด้วยพวงมาลัยดอกมะลิ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยทรงเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการ และได้ตรัสอกย่องว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะงดงามยิ่งนัก “หลวงพ่อโม” อดีตเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม เคยได้ทำพระเครื่องแจกครั้งหนึ่ง ได้ทำเป็นรูปพระพุทธทศพลญาณสร้างด้วยเนื้อชิน เรียกชื่อว่า หลวงพ่อโตวัดสามจีน ปรากฏว่าเป็นที่นิยมนับถือของคนทั่งไปว่าศักดิ์สิทธินัก ปัจจุบันนี้หายากแล้ว

“พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร” หรือ “หลวงพ่อทองคำ” หรือที่มีนามซึ่งปรากฏตามพระราชทินนาม ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ ๙) ว่า “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร

ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ พระมหามณฑปแห่งวัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย คือ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางเหนือพระชานุ ปลายพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี

พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร หรือ พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร นับเป็น “พระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก” หนังสือกินเนสบุ๊ค ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๙๑ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ได้ทำการประเมินค่าอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๙๐ (พ.ศ. ๒๕๓๓) และบันทึกไว้ว่า เป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำสูงถึง ๒๑.๑ ล้านปอนด์

จากหลักฐานที่ปรากฏ อาจกล่าวได้ว่า พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ความประณีตของพุทธศิลปะ ความแยบยลของส่วนประกอบที่ทำเป็นกุญแจกล ความทรงค่ามหาศาลของเนื้อทองคำบริสุทธิ์ เป็นสิ่งซึ่งยากจะหาผู้ใดทำขึ้นได้นอกจากพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้ซึ่งมีพระบรมโพธิสมภารอันยิ่งใหญ่ จึงจะสามารถหล่อสร้างเป็นองค์พระปฏิมาที่ประเสริฐล้ำเลิศเช่นนี้ได้สำเร็จ

องค์พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตรถูกหุ้มห่ออยู่ในปูนเป็นระยะเวลายาวนาน อาจกล่าวได้ว่า ผู้คนสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อน พ.ศ. ๒๔๙๘ มิได้ทราบเลยว่า ภายในพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ได้ซุกซ่อนพุทธปฏิมาอันงามล้ำเลิศและทรงค่ามหาศาล การพอกปูนปิดองค์พระสำคัญไว้ เป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของผู้คนในสังคมไทยสมัยก่อน ที่ต้องการพิทักษ์ปกป้ององค์พระพุทธรูปและพุทธศาสนาไว้จากภัยอันตรายต่าง ๆ ซึ่งจะพบเห็นชัดเจนในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองที่พม่าได้สุมไฟลอกเอาทองจากองค์พระศรีสรรเพชญไปจนหมดสิ้น ผู้คนได้พยายามปกปิดหรือเคลื่อนย้ายองค์พระสำคัญ ๆ หลายต่อหลายองค์ จนเกิดเป็นตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ ที่ชาวบ้านช่วยกันนำองค์พระใส่แพไม้ไผ่อพยพหลบหลีกข้าศึก

สำหรับ “หลวงพ่อทองคำ” องค์นี้ มีข้อสันนิฐานว่า การพอกปูนปิดองค์พระพุทธรูปคงจะกระทำขึ้นก่อนการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ในพ.ศ. ๒๓๒๕ และอาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า ในราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยาทุกฉบับ รวมทั้งเอกสารสมัยอยุธยาไม่มีข้อความที่กล่าวถึงพระพุทธรูปทองคำองค์นี้เลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการพอกปูนปิดองค์พระอาจกระทำมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเริ่มถูกครอบงำจากอำนาจของกรุงศรีอยุธยา และเสื่อมอำนาจลงอย่างสิ้นเชิงในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงเป็นไปได้ที่คนสมัยกรุงศรีอยุธยาอาจพบเห็นเพียงองค์พระปูนปั้นประดิษฐานอยู่ในวัดมหาธาตุ สุโขทัย เรื่อยมา


ภาพบรรยากาศวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร


การเดินทางมาวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร
นั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT มาลงที่สถานีหัวลำโพง ออกทางออกหมายเลข 1 ถ้าเดินไปวัดประมาณ 10 นาที
หรือต่อรถมอเตอร์ไซด์มาลงที่วัดไตรมิตรวิทยาราม ประมาณ 20 บาท

Comments

comments