วัดพนมยงค์ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภออำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Wat Phanomyong, Tha Wasukri Subdistrict Amphoe Phra Nakhon Si Ayutthaya Phra Nakhon Si Ayutthaya Province

“สักการะบูชาพระพุทธไสยาสน์ในวิหารพระนอนเก่าแก่และพระประธานในพระอุโบสถ, บูชาพระราหู”


ที่ตั้งวัดพนมยงค์ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภออำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000

ประวัติวัดพนมยงค์ วัดพนมยงค์ เป็นวัดเก่าสมัยอยุธยาตอนกลาง วัดนี้เป็นนามของแม่นมของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเป็นสวนหลวงของแม่นมยงค์ซึ่งเป็นคนดีสัตย์ซื่อ ยึดถือคุณธรรมเป็นหลักของชีวิต ขยันต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและปฏิบัติงานจนสำเร็จทุกเรื่อง จึงเป็นที่โปรดปรานขององค์พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้น ต่อมาเมื่อแม่นมยงค์ชราภาพลงและหมดอายุขัย พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสวนหลวงเป็นที่ธรณีสงฆ์และให้สร้างวัดขึ้นที่นั่นโดยให้พ้องกับชื่อแม่นมยงค์เพื่อบุญกุศลจะได้ตกแก่แม่นมยงค์

พระประธานในพระอุโบสถ

เมื่อสร้างวัดพนมยงค์แล้วก็สร้างพระอุโบสถขึ้น มีความงดงามมาก ทุกส่วนอ่อนช้อย เป็นพระอุโบสถทรงที่เรียกว่า “ท้องสำเภา” อันเป็นคติทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่แฝงอยู่กับคติเถรวาท อันหมายถึงพุทธศาสนาเป็นดั่งสำเภาที่จะพาปุถุชนข้ามโอฆสังสารไปสู่ความสิ้น ทุกข์ พระพุทธรูปในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง (น่าจะหมายความว่าคงเป็นวัดเก่ามาก่อนที่จะบูรณะขึ้นทั้งวัดในสมัยอยุธยาตอน กลาง)

ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีวิหารพระนอน “พระพุทธรูปปางไสยาสน์” องค์ใหญ่ทำด้วยปูนปั้นสวยงาม พระนอนองค์นี้มีพุทธลักษณะละม้ายไปทางสุโขทัย เพราะพระศกท่านคล้ายก้นหอยขม ส่วนในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อนั้นเป็นที่โจษขานกันมาก ตามความเชื่อเข้าใจว่าแม่นมยงค์ น่าจะเกิดวันอังคาร จึงได้สร้างพระนอนองค์ใหญ่ไว้ประจำวัด และได้บรรจุกรุพระตลอดจนของล้ำค่าไว้เป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้วัดพนมยงค์ยังมีพระพุทธรูปเก่าแก่อีก 2 องค์ด้วยกัน องค์หนึ่งอยู่ในพระอุโบสถเป็นพระประธานสร้างในสมัยพระเจ้าอู่ทอง พระพักตร์งดงามมาก หน้านางสร้างด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ อีกองค์หนึ่งเป็นรูปหล่อพระศรีอาริยเมตตรัยสมัยปลายสมัยอยุธยา

คติแห่งพระปรินิพพานตามปรินิพพานสูตรที่ สำคัญมี 2 ประการ คือ การเทศนาครั้งสุดท้ายที่ได้ตรัสเป็นบาลีและปัจฉิมเทศนาครั้งสุดท้ายว่า

“อานนท์ เธออย่าเศร้าโศก ร่ำไรไปเลย เราได้บอกไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น ต้องมี เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในของรักของชอบใจนี้แต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้วมีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่าขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้”

และ

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล เป็นอย่างดี มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษาจิตของตนเองในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาทแล้วจักละชาตสังสารทำที่สุดแห่งทุกข์ได้


พระราหู

 


ภาพบรรยากาศวัดพนมยงค์

[smartslider3 slider=184]


การเดินทางไปวัดพนมยงค์ อยุธยา

#ทัวร์วัดไทยไม่ไปไม่รู้ #วัดพนมยงค์อยุธยา #พระนอน

Comments

comments